dc.contributor.advisor |
สุชาติ เถาทอง |
|
dc.contributor.advisor |
เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง |
|
dc.contributor.author |
กนกวรรณ ใจหาญ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-18T07:36:16Z |
|
dc.date.available |
2023-09-18T07:36:16Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9944 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบถนิมพิมพาภรณ์ไทยใน 3 ยุคสมัย คือ สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1-5) 2) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการออกแบบรูปลักษณ์เครื่องประดับไทยสู่สาระคุณค่าของความหมายใหม่และ 3) เพื่อออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องประดับร่วมสมัยสำหรับสตรีที่ตอบสนองความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคโดย รูปแบบถนิมพิมพาภรณ์ที่นำมาวิเคราะห์มาจากงานประติมากรรม ปฏิมากรรม และเครื่องประดับ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลชั้นปฐมภูมิโดยการลงพื้นที่ภาคสนามใน 4 จังหวัดของประเทศไทยและข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากเอกสารและวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการนำมาจัดกลุ่มและประเภทถนิมพิมพาภรณ์ตามตำแหน่งของการสวมใส่บนร่างกายแล้ววิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาความวิเคราะห์ในมิติของการออกแบบเครื่องประดับ และวิเคราะห์กระบวนแบบเครื่องประดับตะวันตกใน 3 ยุค แล้วสังเคราะห์พหุลักษณ์เครื่องประดับไทยและตะวันตก จากแนวคิดดังกล่าว สู่แนวทางการออกแบบรูปลักษณ์ เครื่องประดับด้วยการบูรณาการลักษณะไทยกับลักษณะตะวันตกจึงได้โมเดลแนวคิดการออกแบบรูปลักษณ์เครื่องประดับไทยร่วมสมัย จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1. สไตล์โกธิค อาร์ตนูโว และอาร์ตเดโค 2. สไตล์ผสม โดยนำสัญญะของกระบวนแบบถนิมพิมพาภรณ์ผสมผสานกับสัญญะเครื่องประดับตะวันตก 3 สไตล์ คือ โกธิค อาร์ตนูโว และอาร์ตเดโค มาออกแบบรูปลักษณ์เครื่องประดับร่วมสมัย สำหรับสตรีที่คงกลิ่นอายความเป็นไทยที่ตอบสนองความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคในบริบทสังคม ปัจจุบัน จำนวน 14 ชุด แล้วนำไปสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่มบุคลิกการแต่งกาย คือ กลุ่มที่ 1 สไตล์คลาสสิคกลุ่มที่ 2 สไตล์ธรรมชาติกลุ่มที่ 3 สไตล์โรแมนติกและกลุ่มที่ 4 สไตล์ดรามาติค ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการ ออกแบบรูปลักษณ์เครื่องประดับชุดพริ้งมากที่สุด รองลงมา คือ ชุดสิงห์อโยธยา และเมื่อพิจารณารายกลุ่มบุคลิกการแต่งกายในแต่ละกลุ่ม พบว่า ในแต่ละกลุ่มบุคลิกการแต่งกายมีรสนิยมที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นถึงความชอบและการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับต่างกัน |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ |
|
dc.subject |
เครื่องประดับ -- การออกแบบ |
|
dc.subject |
เครื่องประดับ |
|
dc.title |
กระบวนแบบถนิมพิมพาภรณ์ : แนวทางการออกแบบรูปลักษณ์เครื่องประดับ |
|
dc.title.alternative |
Embellishment “tnim pimpporn style”: conceptul design for jewelry |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The research objectives were 1) to study and analyze form and pattern of Tnim
Pimpaporn from 3 periods –Sukhothai, Ayothaya, and Rattanakosin (Reign of King Rama I-V)
2) to synthesize design guideline of modern Thai jewelry with new meaning. And 3) to design
and create prototype of contemporary jewelry for woman to response to the consumer needs. The
survey was conducted based on purposive sampling of sculpture and ornamentation. The primary
data was collected from the field research at the most important 4 museums of 4 provinces in
Thailand, while the secondary data was collected from related research and documents. The
gathered information was used to grouping and categorizing according to position of wearing on
the human body. The descriptive analysis was conducted in the dimention of jewelry design.
Additionally, the researcher also studied 3 styles of western jewelry including Gothic art, Art
Nouveau, and Art Deco. The derived knowledge from Tnim Pimpaporn and Western styles were
sythesized to establish the conceptual model for the design of contemporary jewelry which
consistsof2 groups including 1) Gothic style, Nouveau style, and Deco style, and 2) integrated
style. The uniqueness of Tnim Pimpaporn in combination with 3 styles of Western jewelry were
integrated for designingand prototypes 14 sets of the contemporary jewelry with a hint of
Thainess that can satisfy the context of present society. These designs were used for testing user
satisfaction among sampling groups with different 4 characteristics of Thai women fashion
personalities, which are 1. Classic Style 2. Natural Style 3. Romantic Style and 4. Dramatic Style.
The result of research found that the most satisfy design is “Prink” and “Singha
Ayothaya” respectively. This result shows that personality of each customer with different taste
affect the personal decision in purchasing different jewelry. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
ทัศนศิลป์และการออกแบบ |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|