DSpace Repository

เสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับสตรีสูงวัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor กาญจนา สือพงษ์
dc.contributor.advisor เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
dc.contributor.author ฐิติมา พุทธบูชา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:36:15Z
dc.date.available 2023-09-18T07:36:15Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9941
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการด้านเสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสําหรับสตรีสูงวัย ทดลองพัฒนา และวิเคราะห์สมบัติของผ้า เพื่อนํามาทําเป็นเสื้อผ้าแฟชั่นสําหรับสตรีสูงวัย และออกแบบและพัฒนารูปแบบเสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อส่งเสริมสุขภาวะ สําหรับสตรีสูงวัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการด้านเสื้อผ้าแฟชั่น คือ สตรีสูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 60-79 ปี โดยเป็นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุข้าราชการ กรุงเทพมหานคร จํานวน 140 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละและเรียงลําดับ ด้านการทดลอง เพื่อเพิ่มสมบัติของผ้า ด้วยวิธีการจุ่มบีบอัดสาร (Padding method) ทําการศึกษาที่ 3 สภาวะ โดยใช้เกณฑ์ 5 ระดับ ได้แก่ ปริมาณสารที่ 30, 40, 50, 60, และ 70 กรัมต่อลิตรอุณหภูมิที่ 130, 140, 150, 160, และ 170 องศาเซลเซียส และเวลาผนึกสารที่ 1, 2, 3, 4, และ 5 นาที และด้วยวิธีการวิธีการจุ่มแช่ (Exhaustion method) ทําการศึกษาที่ 4 สภาวะ โดยใช้เกณฑ์ 5 ระดับ ได้แก่ ปริมาณสารที่ 30, 40, 50, 60, และ 70 กรัมต่อลิตรเวลาแช่สารที่ 10, 20, 30, 40, และ 50 นาที อุณหภูมิที่ 130, 140, 150, 160, และ 170 องศาเซลเซียส และเวลาผนึกสารที่ 1, 2, 3, 4, และ 5 นาที วิเคราะห์ข้อมูลตามมาตรฐานการทดสอบของผ้า AATCC/ASTM และการส่อง SEM ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประเมินด้านการออกแบบเสื้อผ้าเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ และบรรยาย ส่วนด้านความพึงพอใจที่มีต่อเสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อส่งเสริมสุขภาวะ สําหรับสตรีสูงวัย ใช้วิธีการประเมินความพึงพอใจร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับสตรีสูงวัย จํานวน 40 คน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลของการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการด้านเสื้อผ้าแฟชั่น พบว่าสตรีสูงวัย ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการเลือกซื้อผ้าจากห้างสรรพสินค้า ความถี่ในการซื้อเสื้อผ้า คือ นาน ๆ ครั้ง (6-12 เดือน) โดยการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจะพิจารณาจากความเหมาะสมของรูปร่าง ประเภทของเสื้อผ้าที่สตรีสูงวัยต้องการมากที่สุด คือ ชุดลําลอง มีรูปแบบตามสมัยนิยม ซึ่งต้องมีความสะดวกสบายในการสวมใส่ ใช้ผ้าพื้นสีโทนอ่อน มีลักษณะนุ่ม ต้านทานต่อการยับและต้านทานเชื้อแบคทีเรีย ผลการทดลองพัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของผ้าลินิน พบว่าจากผลการทดสอบสามารถ สรุปได้ว่าการใช้สารไกลออกซอลที่ปริมาณสาร 50 กรัมต่อลิตร อุณหภูมิที่ใช้อบผนึกสาร 160 องศาเซลเซียส และเวลาในการอบผนึกสาร 3 นาที เป็นสภาวะที่ดีที่สุด ในการต้านทานต่อการยับของผ้าลินิน และการใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ปริมาณสาร 30 กรัมต่อลิตร อุณหภูมิที่ใช้อบผนึกสาร 150 องศาเซลเซียส และเวลาในการรีดผนึกสาร 3 นาที เป็นสภาวะที่ดีที่สุดในการต้านทานเชื้อแบคทีเรียด้วยเทคนิคการตกแต่งเพิ่มสมบัติของผ้าด้วยวิธีการจุ่ม บีบ อัดสารเข้าไปในผ้า และการใช้สารไกลออกซอลที่ปริมาณสาร 60 กรัมต่อลิตร อุณหภูมิที่ใช้รีดผนึกสาร 160 องศาเซลเซียส และเวลาในการรีดผนึกสาร 3 นาที เป็นสภาวะที่ดีที่สุด ในการต้านทานต่อ การยับของผ้าลินินและการใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ปริมาณสาร 30 กรัมต่อลิตร เวลาแช่สาร 30 นาที อุณหภูมิที่ใช้รีดผนึกสาร 150 องศาเซลเซียส และเวลาในการรีดผนึกสาร 3 นาที เป็นสภาวะที่ดีที่สุดในการต้านทานเชื้อแบคทีเรียด้วยเทคนิคการตกแต่งเพิ่มสมบัติของผ้าด้วยวิธีการจุ่มแช่ (Exhaustion method) และผ้าลินินที่ผ่านการผนึกด้วยสารไกลออกซอลกับอนุภาคนาโน ซิงค์ออกไซด์ ด้วยวิธีจุ่ม บีบ อัดสารเข้าไปในผ้า และด้วยวิธีจุ่มแช่ ทําให้การต้านทานต่อการยับของผ้าลินินดีขึ้นและสามารถต้านทานเชื้อแบคทีเรีย Klebsiella pneumoniae (แกรมบวก) และ Staphylococcus aureus (แกรมลบ) ภายหลังการซักที่ 10 รอบ และ 20 รอบ ได้มากกว่า 90% ผลของการออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นสําหรับสตรีสูงวัย พบว่า รูปแบบที่ 2 ของเสื้อแขนสั้น เสื้อแขนสี่ส่วน เสื้อแขนห้าส่วน เสื้อแขนยาว ได้รับการคัดเลือกมากที่สุดจากผู้เชี่ยวชาญ ส่วนแบบกางเกง พบว่า กางเกงขาสามส่วนรูปแบบที่ 1 กางเกงขาสี่ส่วนรูปแบบที่ 3 กางเกงขาห้าส่วนรูปแบบที่ 3 และกางเกงขายาวรูปแบบที่ 1 ได้รับการคัดเลือกมากที่สุดจากผู้เชี่ยวชาญ และด้านความพึงพอใจที่มีต่อเสื้อผ้าแฟชั่นต้นแบบ พบว่า เสื้อแบบที่ 1 (x = 4.36) เสื้อแบบที่ 2(x = 4.48) เสื้อแบบที่ 4 (x = 4.12) ได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเสื้อแบบที่ 3 (x = 4.53) ได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกางเกงแบบที่ 1 (x = 4.23) กางเกงแบบที่ 2 (x = 4.43) กางเกงแบบที่ 3 (x = 4.38) และ 4 (x = 4.45) ได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และจากการสังเกตพบว่า สตรีสูงวัยสามารถสวมใส่เสื้อแบบที่ 1, 2 และ 3 และกางเกงแบบที่ 2, 3 และ 4 ได้อย่างสะดวก
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เครื่องแต่งกาย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject แฟชั่น
dc.subject เสื้อผ้า
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title เสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับสตรีสูงวัย
dc.title.alternative Well-being fshion clothings for elderly women
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aims to ř) study elderly women behaviour and the need for fashion design clothes for well-being. Ś) explor, develop, and analyze the qualification of cloth in order to create the fashion clothing and dress for the elderly and ś) design and improve fashion cloth for the well-being of elderly women. The řŜŘpeople, the member of a senior official at Bangkok city hall, are the sampling population used for studying behavior and the need of fashion cloth is the elderly age ŞŘ-şšyears old. Padding method was used to analyze the percentage of adding the qualification of cloth process. Testing was done under śstages of condition control by using ŝ levels of chemical substance –śŘ, ŜŘ, ŝŘ, ŞŘ, and şŘg/l. with the temperature řśŘ řŜŘ řŝŘ řŞŘ řşŘdegree Celsius. The time of coating the cloth is ranging from ř-ŝ minutes. Next step is “Exhaustion method” was done under Ŝstages of condition control, using ŝlevels of chemical substance –śŘ, ŜŘ, ŝŘ, ŞŘ, and şŘg/l. with the temperature řśŘ řŜŘ řŝŘ řŞŘ řşŘdegree Celsius. The time of coating the cloth is ranging from ř-ŝ minutes. The American Association of Textile Chemists and Colorists / American Society for Testing and Materials (AATCC/ASTM) standard testing procedure and Scanning Electron Microscope (SEM) were used for analyzing the data. ŝexperts in this field were evaluated the design of elderly women clothes, then reported as the descriptive analysis and percentage of design satisfaction. For user satisfaction of the cloths evaluation was conducted under the participation observation process of ŜŘelderly women, the analysis the data as percentage, standard deviation, and descriptive analysis. The result found that the frequency of purchasing cloths is Ş-řŚ months / řpurchasing. The properly of cloth with their body is the thing that elderly women concerned. Casual dress that fashionable, comfortable, and easy to wear, is the most needed cloth that elderly people want to buy. Pale colour, soft fabric, anti-wrinkle and anti-bacterial are required. The result of qualification of linen fabric improvement and analyzing found that ŝŘg/l of chemical uses with řŞŘdegree Celsius and ś minutes coated time is the best result for improving fabric quality. For the improving anti-wrinkle property of linen fabric by testing with Glyoxal, found that using śŘg/l of Zinc Oxide Nano with řŝŘdegree Celsius and ś minutes coated time is the best result. For the improving anti-bacterial property of linen fabric by testing with Glyoxal, found that using the Padding method on ŞŘg/l with řŞŘdegree Celsius and ś minutes coated time is the best result. For the improving anti-wrinkle property of linen fabric by testing with Zinc oxide nano, found that using śŘg/l of Zinc Oxide Nano with řŝŘdegree Celsius and ś minutes coated time is the best result. For the improving anti-bacterial property of linen fabric by testing with Glyoxal, found that using Exhaustion method and Linen that coated with Glyoxal and Zinc oxide Nano that using Padding method and Exhaustion method made the good result in term of antiwrinkle and anti-bacterial which can resist bacteria Klebsiella pneumonia and Staphylococcus aureus after wash for řŘand ŚŘround for šŘ% According to the fashion design clothing for the elderly women feedback, found that the style Śof short-sleeved, ¾ length sleeved, bracelet sleeved, long-sleeved were the most chosen from ŝexperts. The pants in the first style, ¾ pants in the third style, ankle pants in the third style, long pants in first style pants were the most selected from the experts. Clothing styleř (xത = Ŝ.śŞ), Ś (xത =Ŝ.ŜŠ) and Ŝ (xത =Ŝ.řŚ) get the high level of user satisfaction. Style ś (xത =Ŝ.ŝś) get the highest level of user satisfaction. The plant's style ř (xത =Ŝ.Śś), Ś (xത =Ŝ.Ŝś), ś (xത =Ŝ.śŠ), and Ŝ (xത =Ŝ.Ŝŝ) get the high level of user satisfaction. From the observation of the researcher, elderly women can easily wear the clothes style ř, Ś, and ś with plants style Ś, ś, and Ŝ comfortably during the participation observation fitting of the well-being fashion clothing design for elderly women.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account