DSpace Repository

สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้โบราณสถานที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุชาติ เถาทอง
dc.contributor.advisor อติเทพ แจ้ดนาลาว
dc.contributor.author สุริยา รัตนะวงศ์กุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:36:12Z
dc.date.available 2023-09-18T07:36:12Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9936
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การศึกษาเรื่องสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้โบราณสถานที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว ศรีสัชนาลัย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ และอิทธิพลของศิลปะของอาณาจักรต่าง ๆ รอบอาณาจักรสุโขทัยที่มีต่องานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และบริบทของอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย 2) เพื่อศึกษาและเก็บบันทึกข้อมูลรูปแบบลักษณะของเจดีย์รวมถึงลวดลายปูนปั้นปัจจุบัน ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว และนํามาใช้ในการสร้างรูปแบบสันนิษฐานสองมิติ และสามมิติ 3) เพื่อออกแบบโครงสร้างข้อมูลบนสื่อดิจิทัลเพื่อสร้างรูปแบบการศึกษา “ประวัติศาสตร์ศิลปะแนวใหม่” ที่ง่ายต่อการรับรู้และทําความเข้าใจในการเที่ยวชมโบราณสถานโดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ทั่ว ๆ ไป รวมทั้งเป็นการตอบรับกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และการสื่อสารในโลกของยุคดิจัทัล กรอบแนวคิดของการทําวิจัยนั้น ต้องการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลทั้งภาคเอกสารและข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ปัจจุบันของวัดเจดีย์เจ็ดแถว ผลจากการเก็บข้อมูล สัดส่วนพื้นที่ของเจดีย์ รูปปั้น ลายปูนปั้น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างของเจดีย์ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวเป็นหลักในการศึกษา และศึกษารูปแบบของเจดีย์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะและวัฒนธรรมของสุโขทัยในช่วงแรก และช่วงหลังที่สืบทอดต่อมาในยุคของอยุธยาและรัตนโกสินทร์ นําไปสู่การเปรียบเทียบเพื่อสันนิษฐานรูปแบบที่ขาดหายหรือพังทลายลงไป ผลการวิจัยในส่วนของรูปแบบเจดีย์สามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบคือ เจดีย์ทรงดอกบัวตูม เจดีย์ทรงปราสาท และเจดีย์ทรงระฆัง จากผลวิจัยดังกล่าวนําไปสู่การสร้างเครื่องมือการเรียนรู้ที่ง่ายต่อการศึกษา ทําความเข้าใจ และเข้าถึงข้อมูลทางประวัติศาสตร์อ้างอิงกับการสังเกต แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ นักท่องเที่ยวที่ท่องเที่ยวในโบราณสถานเพื่อนํามาออกแบบสื่อการเรียนรู้โดยจะนําเสนอผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่บนเครื่องมือสื่อสารเคลื่อนที่กล่าวคือการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม จากการสํารวจความพึงพอใจของการใช้งานแอปพลิเคชัน จากกลุ่มผู้ใช้งาน 30 ท่าน พบว่า 10% เห็นว่าการนําเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์อยู่ในขั้นเข้าใจง่ายมาก 66.67% เข้าใจ และอีก 23.33% พอเข้าใจ ในส่วนของการแสดงข้อมูลของรูปแบบเจดีย์หลักและส่วนย่อย 23.33% เข้าใจง่ายมาก 71.67% เข้าใจ และ 5% พอเข้าใจ ในส่วนข้อสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพความรวดเร็วการใช้งาน 6.67% เห็นว่ารวดเร็วดีมาก 46.67% รวดเร็วดี 46.67% ปานกลาง ในส่วนของความง่ายในการใช้งานส่วนใหญ่เห็นว่าใช้งานง่ายผู้ใช้งานส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ควรพัฒนารูปแบบในการนําเสนอข้อมูลรูปแบบการทํางานของแอปพลิเคชั่น ให้ดีขึ้นเพื่อนําไปใช้งานในโบราณสถานแหล่งอื่น ๆ ด้วย การออกแบบแอปพลิเคชั่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรูปแบบ “การเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ศิลปะแนวใหม่” โดยให้ความสําคัญของการผสมผสานเทคโนโลยี และประวัติศาสตร์ศิลปะ เพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวที่สนใจเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศิลปะ สามารถใช้สื่อดิจิทัลในการศึกษาได้ง่ายและชัดเจนขึ้นระหว่างการท่องเที่ยวในโบราณสถาน และยังจะยังผลให้เยาวชนหรือคนรุ่นใหม่หันมาสนใจความเป็นมาของประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้น
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject โบราณสถาน -- สุโขทัย
dc.subject อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject สื่ออิเล็กทรอนิกส์
dc.title สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้โบราณสถานที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย
dc.title.alternative Digitl lerning tool for the ruined, design study t wt chedi chet theo,si stchnli historicl prk, sukhothi
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research are 1) Study the history and influence of art around Sukhothai that affect to the work of art and architecture in the historical parkof Sukhothai-Si Satchanalai and Wat Chedi Chet Thaeo. 2) Study and record the current style of stupas and motifs for the hypothesis of form; and3) To design the information architecture for the “New form of Art History Learning” with digital media that easily to understand. The research framework of this research is to analysis and synthesis the data from the documents, research, historical information and historical evidence from the field observation at Wat Chedi Chet Thaeo. The sample groups include pagoda area, sculpture, and decorative stucco on the pagoda. Additionally, this research also studies the information of the pagoda that built during early Sukhothai period and the later periods during the Ayodhaya and Rattanakosin era. The information will be used to determine the characteristic of the pagoda ruinsor some partsof stupa thathave been lost. It was found that there are 3 categories of stupas inside the wallsof Wat Chedi Chet Thaeo, whichare 1) Lotus-Bud Stupas,2)Prasat Style Stupa and,3) Bell-Shape Stupa. The information led to the development of educational tools which facilitate the study, understanding, and access tohistorical information. The creation approach of this application is based on the field observation, questionnaire, and personal interview with the tourists in the temple. The application will be used on the mobile device under the AR technology. The study of user satisfactionfrom 30 users testing the demoreveals that 10% found it is very easy to understand, 66.67% felt it is easy, and 23.33% said it is average in termsof the historical information delivery to users. Regardingto the levelof understanding from the display of form and characteristic of stupa in the major and minor part of pagoda, 23.33% said it is easy to understand, 71.67% said it is moderately easy, and 5% said it is moderately easy. For the efficiency of application, 6.67% of users found itvery fast, 46.67% found it fast and 46.67% found it moderate. Majority of the trial group suggested that the application should have further development in term of information display, usabilityandreconstruction images for application to other historical sites in Thailand. This application design is a part of creating the “New Form of Historical Art Learning” with emphasis on integrating the new technology and art history together to enhance cultural tourisms and encourage people to use technology during the site visit Also, it is aimed for the new generation to take more interest in Thai history.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account