Abstract:
จากการศึกษาเม็ดเลือดหอยหวานโดยเทคนิคทางกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบเม็ดเลือด 2 ชนิด คือ เวลล์ไฮยาลิโนไซต์ และแกรนูลโซตื (1) เซลล์ไฮยาลิโนไซต์ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ และในไซโตพลาสซึมมีแกรนนูลในปริมาณที่น้อยมาก หรือไม่มีเลย (2) เซลล์แกรนนูลไซต์ ประกอบไปด้วย,เซลล์ที่มีทั้งแกรนนูลขนาดเล็ก และแกรนูลขนาดใหญ่มากมาย เซลล์ชนิดนี้พบในปริมาณมากกว่าไฮยาลิโนไซต์ และน่าจะเป็นเซลล์หลัก ที่ทำหน้าที่ในการต่อต้านการติดเชื้อโรคของหอยหวาน สำหรับการทดลอง การยอมรับเชื้อของหอยหวาน เมื่ออยู่ในสภาวะความเครียด อันเนื่องมาจากคุณภาพน้ำ พบว่า การยอมรับเชื้อของหอยหวานจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อปริมาณไนไตร์ทเพิ่มขึ้น และอุณหภูมิสูงขึ้นที่ 32 องศาเซลเซียส และจากการทดลองใช้ในครั้งนี้พบว่า ปัจจัยคุณภาพน้ำต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป มีผลการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของหอยหวาน นอกจากนี้ยังพบว่า เบต้ากลูแคน สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของหอยหวานได้ดีที่สุด เมื่อแช่หอยหวาน 24 ชั่วโมง ก่อนนำไปเลี้ยงที่สภาวะปกติ รวมทั้ง เบต้า-กลูแคน มีผลส่งเสริม bactericidal activity ในน้ำเลือดของหอยหวานเช่นกัน