DSpace Repository

การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อเสริมพลังอำนาจของผู้ใช้บริการในโครงการบ้านน้อยในนิคมสร้างตนเองให้มีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในฐานะทุนมนุษย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรวุฒิ เพ็งพันธ์
dc.contributor.advisor สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
dc.contributor.author อัครพงษ์ เพ็ชรพูล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:20:13Z
dc.date.available 2023-09-18T07:20:13Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9869
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการเสริมพลังอำนาจของผู้ใช้บริการในโครงการบ้านน้อยในนิคมสร้างตนเองเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในฐานะทุนมนุษย์ ศึกษาบทบาทของกลุ่มสหวิชาชีพที่ส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง และเสนอแนวทางไปสู่นโยบายการจัดสวัสดิการสังคม โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ตอนที่ 1 สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลโดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใช้บริการในโครงการบ้านน้อยในนิคมสร้างตนเองในภาคเหนือ จำนวน 5 แห่ง กลุ่มผู้ใช้บริการที่กลับบ้านแล้ว และกลุ่มผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่บ้าน รวม 73 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ตอนที่ 2 สัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มสหวิชาชีพ ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงจากผู้มีประสบการณ์ด้วยวิธีบอกต่อ จำนวน 15 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และตอนที่ 3 การสนทนากลุ่มเลือกแบบเจาะจงจากผู้บริหารองค์กรสวัสดิการสังคม นักวิชาการ และผู้แทนกลุ่มสหวิชาชีพ รวม 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอผลแบบเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนการเสริมพลังอำนาจในตนเอง มี 6 ขั้นตอน คือ วางแผน ในเป้าหมายชีวิตของตนเอง ยอมรับความเป็นจริง คิดทบทวนตนเอง ค้นหาสิ่งที่เหมาะสมกับตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง ประสบความสำเร็จในตนเอง บทบาทกลุ่มสหวิชาชีพมี 2 บทบาท คือ เชิงรุก ได้แก่ ส่งเสริมให้วางแผนชีวิต เห็นคุณค่าในตนเอง มีแรงจูงใจเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้น ให้มีความรู้ในสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติ มีทักษะชีวิตและมีทัศนคติเชิงบวก เชิงรับ ได้แก่ การทำงานตามกฎหมายเฉพาะ ปรับปรุงกฎระเบียบให้ยืดหยุ่นกับการดำรงชีวิตอิสระ วิธีการสัมผัสและเข้าใจกับปัญหาของกลุ่มสหวิชาชีพ และ การบริหารจัดการด้านบุคลากร แนวทางไปสู่นโยบายการจัดสวัสดิการสังคม มี 3 แนวทาง คือ การสนับสนุนจากพลังภายในตนเอง การสนับสนุนจากสังคม และการสนับสนุนจากกฎหมาย ข้อเสนอแนะหน่วยงานภาคีเครือข่าย ควรนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางกำหนดนโยบาย แผน และมาตรการการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อป้องกันกลุ่มเปราะบางทางสังคมอื่น ๆ เช่น เด็กเยาวชน ผู้พิการ ผู้ต้องขังพ้นโทษ โดยเฉพาะผู้มีความผิดปกติทางจิตเรื้อรังทั้งชายและหญิงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงไร้ที่พึ่ง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject สังคมสงเคราะห์
dc.subject สตรี -- การสงเคราะห์
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.title การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อเสริมพลังอำนาจของผู้ใช้บริการในโครงการบ้านน้อยในนิคมสร้างตนเองให้มีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในฐานะทุนมนุษย์
dc.title.alternative Socil welfre for empowerment of client in the settlement house for trnsformtive lerning s humn cpitl
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) to study the steps of client empowerment in the Settlement house for transformative learning as human capital, 2) to study the role of multidisciplinary groups that promote transformative learning, 3) to propose guidelines for social welfare policy. It was the qualitative research comprising of three parts, Part I, in-depth interviews with 3 informant groups: the ones who are in the Settlement house in 5 northern regions, the ones who have returned home, guardians or caretakers at the home, totally 73 people selected by purposive sampling. Part II. In-depth interview with 15 people from multidisciplinary groups purposively selected from experienced informants using snowball method. Part III. Focus group discussion with 9 informants purposively selected from the administrators of social welfare organizations, academics and representatives from multidisciplinary groups. All the data were analyzed by content analysis via using descriptive description. The results of the research showed that there are 6 steps in empowerment: planning the goals of one's own life, acceptance of reality, refection, finding something suitable for oneself, believing in oneself and self-success. The roles of the multidisciplinary group are 2 roles: Proactive; namely, encouraging life planning, self-esteem, having the motivation to change oneself better to have knowledge of rights and responsibilities, having the ability to think critically, taking action, having life skills and positive attitude. In terms of Reactive, there are working according to specific laws, readjusting flexible regulations for independent living, knowing how to work and understand the problems of multidisciplinary groups, and human resource management, there are 3 ways for social welfare management policy: self-support, social support and law support. Recommendations for network; the research results should be used as guidelines for policy, plans and measures. Social welfare provision to protect other vulnerable groups, such as children, youth, disability, prisoners and acquitted especially those with chronic mental disorders, both men and women.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account