Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยใช้ตารางการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 608-610) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 138 คน
โดยการสุ่มแบบชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (¯("X" )) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา
ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวม
และรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง
2. เปรียบเทียบปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น
ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. เปรียบเทียบปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามประสบการณ์สอน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. เปรียบเทียบปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
5. แนวทางสำคัญในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนควรจัดให้มีการประเมินและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ควรเปิดโอกาสให้ครูได้เลือกสอนตามความถนัดของตนเอง
และความต้องการของผู้เรียน ด้านการวัดผล ประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน จัดให้มี
การอบรมเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน โดยเน้นการประเมินตามสภาพจริง
ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ผู้บริหารและครูควรให้ความสำคัญกับการวิจัยเพื่อพัฒนา ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดให้มีการประสานความร่วมมือในการผลิต จัดหา พัฒนาและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพสถานศึกษา ควรจัดให้ครูเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา