Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหลักห้าฯ 2) ความคาดหวังของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหลักห้าฯ 3) ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหลักห้าฯ และเพื่อศึกษาโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการระบบสวัสดิการ สังคมผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จำนวน 5 คน ที่อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหลักห้า จังหวัดสมุทรสาครเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน (Multiple linear regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า ด้านความต้องการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุพบว่าภาพอยู่ในระดับมาก ด้านที่ระดับมากที่สุด คือ ด้านสุขภาพ รองลงมาคือ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านความปลอดภัย ด้านนันทนาการและน้อยที่สุด คือ ด้านการศึกษา ตามลำดับ และผลการวิจัยด้านความคาดหวังของผู้สูงอายุพบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่ระดับมากที่สุด คือ ด้านความคาดหมายรองลงมาคือ ด้านความพอใจ ด้านสื่อกลางและน้อยที่สุด คือ ด้านผลลัพธ์ ตามลำดับ และผลการวิจัย ด้านความพึงพอใจของผู้สูงอายุในคุณภาพการให้บริการ พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่ระดับมากที่สุด คือ ด้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้ารองลงมาคือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ลูกค้าและน้อยที่สุด คือ ด้านการตอบสนองลูกค้า ตามลำดับ และในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุพบว่า บทบาทสำคัญในการบริหารจัดการระบบสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุมีการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุเบี้ยยังชีพ ติดตาม ประเมินผลการแนะนำผู้สูงอายุเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมของการบริหารจัดการระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุสนับสนุนให้มีการประสานงาน และมีการช่วยดูแลเรื่องเบี้ยยังชีพ ออกหน่วยบริการ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับประโยชน์สูงสุด (เน้นการรักษาสิทธิให้กับผู้สูงอายุ)