dc.contributor.author |
วิเชียร ชาลี |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:54:55Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:54:55Z |
|
dc.date.issued |
2555 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/959 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ถ่านหิน (FA) ผสมกับกากแคลเซียมคาร์ไบด์ (CCR) เพื่อเป็นวัสดุประสานในคอนกรีตโดยนำกากแคลเซียมคาร์ไบด์จากโรงงานโดยตรงไปบดจนมีขนาดอนุภาคค้างบนตะแกรงเบอร์ 325 ในช่วงร้อยละ 12-15, 15-18 และ 18-20 โดยน้ำหนัก กลุ่มแรกผสมกากแคลเซียมคาร์ไบด์กับเถ้าถ่านหินจากโรงงานโดยตรงในอัตราส่วน 50:50 โดยน้ำหนัก และส่วนผสมคอนกรีตกลุ่มที่ 2 ใช้ส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ต่อกากแคลเซียมคาร์ไบด์ต่อเถ้าถ่านหิน เท่ากับ 20: 40: 40 โดยน้ำหนัก ใช้ส่วนผสมคอนกรีตที่มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.45 ทำการทดสอบกำลังอัด, ความหนาแน่น และความสามารถในการดูดซึมน้ำในคอนกรีตที่อายุบ่มในน้ำ 7,28, 60 วัน ตลอดจนทดสอบกำลังรับแรงดึงแบบผ่าซีกและกำลังดัดที่อายุบ่มในน้ำ 28 วัน
นอกจากนั้นได้ศึกษาการใช้กากแคลเซียมคาร์ไบด์ที่ได้จากโรงงานโดยตรงผสมกับเถ้าถ่านหินและปุนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 เพื่อเป็นวัสดุประสานในคอนกรีต โดยใช้กากแคลเซียมคาร์ไบด์จากโรงงานโดยตรง ที่มีขนาดอนุภาคตะแกรงเบอร์ 8 และใช้ส่วนผสมแคลเซียมคาร์ไบด์ ต่อ เถ้าถ่านหินต่อ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในอัตราส่วน 60:60:10, 60:20:20, 60:10:30, 50:40:10, 50:30:20, 50:20:30, 40:50:10, 40:40:20, 40:30:30 และ 0:0:100 โดยน้ำหนักวัสดุประสานใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.45 และควบคุมค่ายุบตัวของคอนกรีตสดให้อยู่ในช่วง 50 ถึง 100 มม. โดยใช้สารลดน้ำพิเศษ ทำการทดสอบกำลังอัดคอนกรีตหลังบ่มในน้ำเป็นเวลา 7, 14, 28 และ 90 วัน ตลอดจนหาความหนาแน่นของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน
ผลการศึกษาพบว่า การใช้กากแคลเซียมคาร์ไบด์ที่มีความละเอียดมากขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่นกำลังอัด กำลังดัด และกำลังดึงมากขึ้น ขณะที่ค่าการดูดซึมน้ำลดลง นอกจากนั้นพบว่าการใช้ปูนซีเมนตืผสมในคอนกรีตร้อยละ 20 ให้กำลังอัดคอนกรีตสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ปูนซีเมนต์ สำหรับกลุ่มที่ใช้กากแคลเซียมคาร์ไบด์โดยตรงจากโรงงานผสมคอนกรีตในปริมาณที่สูงขึ้น ส่งผลให้กำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 28 วันลดลง โดยคอนกรีตที่ผสมกากแคลเซียมคาร์ไบด์ร้อยละ 60 โดยน้ำหนักวัสดุประสานมีกำลังอัดต่ำสุด (ในแต่ละปริมาณปูนซีเมนต์) อย่างไรก็ตาม การใช้กากแคลเซียมคาร์ไบด์ผสมในคอนกรีตมากขึ้น มีผลให้การพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตในช่วง 28 ถึง 90 วันสูงขึ้น และสูงกว่าคอนกรีตของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 การศึกษาครั้งนี้พบว่า คอนกรีตอัตราส่วน 40:30:30 มีกำลังอัดสูงสุดที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 224 กก./ซม.2 ร้อยละ 51 ของคอนกรีตควบคุม) และพัฒนากำลังอัดต่อเนื่องเป็น 262 กก./ซม.2 ที่อายุ 90 วัน (ร้อยละ 52 ของคอนกรีตควบคุม) นอกจากนั้นพบว่า คอนกรีตที่ผสมกากแคลเซียมคาร์ไบด์ทุกส่วนผสมมีความหนาแน่นต่ำกว่าคอนกรีตของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภที่ 1 |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สนับสนุนโดย ทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
กากแคลเซียมคาร์ไบด์ |
th_TH |
dc.subject |
เถ้าถ่านหิน |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
th_TH |
dc.title |
ผลของความละเอียดของกากแคลเซียมคาร์ไบด์ต่อคุณสมบัติเชิงกลของคอนกรีต |
th_TH |
dc.title.alternative |
Effect of calcium carbide residue finenesses on mechanical properties of concrete |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2555 |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to utilize fly ash (FA) and calcium carbide residue (CCR) mixtures as a cementitious material in concrete. The CCR from industries was ground until the particles retained on a sieve No. 325 of 12%-15%, 15%-18% and 18%-20% by weight. The first group, a ratio of 50:50 by weight of CCR and Mae Moh fly ash were used as a binder to cast concrete, without Portland cement. Second group, a ratio of 20:40:40 by weight of Poratland cement type I, CCR and Mae Moh fly ash were also used as a binder in concrete. The W/B ratio of concrete was kept constant of 0.45. Compressive strength, water absorption and density of concrete were investigated at 7, 28 and 60 days of water curing. In addition, splitting tensile and flexural strengths were investigated at 28 days of water curing.
In addtion, the original calcium carbide residue, fly ash and Portland cement type I were also used as a cementitions material in concrete. The original calcium carbide residue from industries with the particles passed a sieve No. 8 were used. The ratio of 60:30:10, 60:20:20, 60:10:30, 50:40:10, 50:30:20, 50:20:30, 40:50:10, 40:40:20, 40:30:30 and 0:0:100 by weight of calcium carbide residue: Mae Moh fly ash: Portland cement type I were used as a binder to cast concrete. The water to binder (W/B) ratio was kept constant at 0.45 and the slump of fresh concrete was also controlled between 50 to 100 mm by varying the amont of superplasticizer. The compressive strength of concrete was tested after 7, 14, 28 and 90 days of water curing. In addtion, the density of concrete was determined at the age of 28 days.
The results showed that the compressive strength, splitting tensile strength, flexural strength and density of concrete increased with the increase in CCR finenesses, while water absorption of concretes founded to be decreased. In addtion, the use Portland cement type I in concrete of 20% by weight of binder produce higher compressive strength than that concrete without Portland cement. For original CCR, the compressive strength at 28 days decreases as the amount of calcium carbide residue replacement increases, and the lowest compressive strength was founded in concrete containing calcium carbide residue of 60% by weight of binder (for each cement content). However, during 28 to 90-days, the increase of calcium carbide residue replacement level resulted in the increase of strength development of calcium carbide residue concrete, which was higher than that of Portland cement type I concrete. The study found that the maximum compressive strength at 28 days was 224 ksc (normalized compressive strength of 51%) and developed to be 262 ksc at 90 days (normalized compressive strenhgth of 52%) for the mixture of 40:30:30. Also, the density of all concrete containing calcium carbide residue was lower than that of Portland cement type I concrete. |
en |