DSpace Repository

ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมของชุมชนไทยเชื้อสายมอญเพื่อออกแบบสื่อการเรียนรู้

Show simple item record

dc.contributor.advisor บุญเติม พันรอบ
dc.contributor.advisor เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
dc.contributor.author วารดา พุ่มผกา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T06:42:53Z
dc.date.available 2023-09-18T06:42:53Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9532
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมของชุมชนไทยเชื้อสายมอญเพื่ออกแบบสื่อการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ศึกษาภาคเอกสารและภาคสนาม รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์ การวิจัยเพื่อศึกษาภูมิปัญญามอญทางด้านศิลปกรรมของชุมชนไทยเชื้อสายมอญ วิเคราะห์เอกลักษณ์ทางด้านศิลปกรรมมอญ นําไปสู่แนวทางการออกแบบสื่อการเรียนรู้ และประเมินความรู้ ความเข้าใจในภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมมอญของชาวมอญ ผลจากการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมมอญเกี่ยวเนื่องสิ่งสําคัญ 3 ประการ ได้แก่ พุทธศาสนา การรําลึกถึงอดีตของชนชาติมอญ และการนับถือผีบรรพบุรุษทั้งนี้ศิลปกรรมมอญ จําแนกเป็น 2กลุ่มใหญ่ คือ (1) ศิลปวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น เจดีย์มอญ เสาหงส์ สถาปัตยกรรมชั่วคราว เช่น เมรุปราสาทมอญ และ ศิลปหัตถกรรม เช่น การทําโลงศพ การปักสไบมอญ (2) ศิลปกรรมประเภทที่จับต้องไม่ได้ เช่น ภาษาพูดมอญ ประเพณี พิธีกรรม คติความเชื่อ และองค์ความรู้และทักษะของช่างภูมิปัญญามอญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือ “ทุนทางวัฒนธรรม” ที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ได้แก่ การผลิตสินค้าทางวัฒนธรรมประเภทของที่ระลึก การสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมมอญ เป็นต้น ผู้วิจัยจึงได้นําผลการศึกษาอัตลักษณ์ของศิลปกรรมมอญ เช่น ลวดลายจากงานจิตรกรรม สีสันจากเสื้อผ้าการแต่งกายของชาวมอญมาเป็นแนวทางในการออกแบบสื่อการเรียนรู้ คือ “ชุดปักสไบมอญ และชุดสาธิตธงตะขาบ” ซึ่งมีแนวคิดในการออกแบบ แสดงอัตลักษณ์มอญ มีความสวยงาม สืบสานภูมิปัญญามอญ และสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ง่าย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบทดสอบ Pretest-posttest เรื่องสไบมอญและธงตะขาบกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเจ็ดริ้ว ตําบลเจ็ดริ้ว อําเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จํานวน 20 คน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการประเมินความพึงพอใจของตัวแทนชุมชนมอญ 4 ชุมชน จํานวน 363 คน ที่มีต่อสื่อการเรียนรู้โดยใช้แบบสอบถามพบว่าค่าเฉลี่ยรายด้านดังนี้ ด้านเนื้อหา 4.05 ด้านออกแบบ 4.19 ด้านการเรียนรู้ 4.18 สื่อการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ศิลปกรรม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject ภูมิปัญญาชาวบ้าน
dc.subject มอญ -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมของชุมชนไทยเชื้อสายมอญเพื่อออกแบบสื่อการเรียนรู้
dc.title.alternative Artistic wisdom of mon community to crete lerning medi design
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative For the research on the topic of the “Artistic Wisdom of Thai-Mon Community for the Designing of Learning Media”, the researcher conducted by literature studyon-field studyand in-depth interview. The objectives of this research aimed to 1) study the artistic wisdom of Mon community 2) analyze Mon artistic identity in order to design the learning media 3) evaluate the knowledge and understanding concerning Mon artistic wisdom of the sample group. The research findings revealed that Mon arts firmly cohere to 3important things: Buddhism, remembrance of Mon ancestors and ancestor worship. Mon arts can be categorized into two main groups:1) tangible art and culture: permanent architecture,such as Mon pagodas, swan pillar. temporary architecture, such as traditional monks’ funeral pyre. and handicraft;such as Mon’s confine making , breast cloth embroidery 2) intangible art and culture: Mon language, tale, myth, rite, life tradition, knowledge and skills of Mon craftsman. All of these arts were claimed to be ‘cultural capital’, which can be commercialized to the production of cultural souvenirs, establishment of tourist attractions and learning center of Mon art and culture, etc. The researcher applied the results from study of Mon art’s identity regarding patterns of painting and colors of Mon’s costume to design the learning media—‘traditional Mon breast cloth embroidery kit and centipede flag demonstration kit’, which aimed to express Mon identity and esthetic, Mon artistic wisdom inheritance, and encouragement of easy self-learning media. Evaluation on student’s understanding of Mon’s artistic wisdom on 20 Mathayomsuksa 1 (Grade 7) students of Wat Jed Riew School, Samut Sakorn Province by conducting pretest-posttest method on the traditional Mon breast cloth and centipede flag, the result revealed that the score of posttest is statistically significantly higher than that of pretest at the level of 0.05. In terms of satisfaction of the sample group towards the learning media, the averages derived from the evaluation are resulted as follows: 1) content aspect4.052) design aspect 4.193) learning aspect 4.18. All of the values fall within the ‘good’ level, which means the learning media work appropriately to encourage the learning of users.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account