dc.contributor.author |
อาลักษณ์ ทิพยรัตน์ |
|
dc.contributor.author |
อาณัติ ดีพัฒนา |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-07T07:49:17Z |
|
dc.date.available |
2023-08-07T07:49:17Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9287 |
|
dc.description |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 |
th_TH |
dc.description.abstract |
หลักการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถนำไปทดสอบใช้ได้จริงด้วยการใช้อาหารเลี้ยงเชื้อเพิ่มจำนวนที่เป็นลักษณะสีที่มีหลายปฏิกริยาชีวเคมีร่วมกันได้ถูกพัฒนาเพื่อใช้ในการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคสำหรับตัวอย่างโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร รูปแบบการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการผนวกร่วมกับอาหารเหลวเพิ่มจำนวนในขั้นตอนแรก โดยรูปแบบการวิเคราะห์อาหารเพิ่มจำนวนนี้ใช้ปฏิกริยาชีวเคมีในการบ่มเพาะเลี้ยงด้วย 96-well ไมโครไทเทอเพลทที่เป็นการลดปริมาตรอาหารที่ใช้แต่ยังคงมีประสิทธิภาพในการตรวจวิเคราะห์ ร่วมกับการใช้เทคนิคการวัดค่าการดูดกลืนคลื่นแสงของตัวอย่างเพื่อให้ได้ผลวิเคราะห์ที่รวดเร็วด้วยเครื่องไมโครเพลทรีดเดอร์ รูปแบบจำเพาะของปฏิกริยาชีวเคมีของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคแต่ละชนิดสามารถเกิดปฏิกริยาได้ครอบคลุมกลุ่มปฏิกริยาชีวเคมีมาตรฐานที่ได้นำเสนอ เช่น การใช้น้ำตาล, การเกิดกรดอะมิโนดีคาร์บอกซีเลชั่น, การเกิดปฏิกริยา esculin hydrolysis และการเกิดปฏิกริยาไฮโดรเจนซัลไฟด์ โดยการใช้ปฏิกริยาเหล่านี้เพื่อการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคที่สาคัญ ทั้งนี้อาหารเพิ่มจำนวนเซลล์ที่ใช้จะมีสีที่เกิดจากการใช้พีเอชอินดิเคเตอร์ที่เป็น โบรโมครีซอลเพอเพิล, ฟีนอลเรด, เฟอร์ริกแอมโมเนียมซิเตรท, และโซเดียมไธโอซัลเฟท ถูกเติมลงไปในอาหารเหลวเพิ่มจำนวนเพื่อบ่งบอกการเกิดปฏิกริยาและเพื่อให้มีผลกับการตอบสนองของค่าการดูดกลืนคลื่นแสงด้วยการวัดด้วยไมโครเพลทรีดเดอร์ เงื่อนไขการเพิ่มจำนวนของเซลล์ถูกบ่มที่อุณหภูมิ 37C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง กลุ่มแบคทีเรียแกรมบวกที่ใช้ในการทดสอบ เช่น Listeria monocytogenes, Staphylococcus aureus, Bacillus cereus และแบคทีเรียแกรมลบ เช่น Salmonella Typhi, Yersinia enterocolitica ทั้งนี้ Vibrio paraheamolyticus เป็นหนึ่งแบคทีเรียที่ใช้รูปแบบการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนด้วยอาหารหลากหลายปฏิกริยาชีวเคมีด้วยเช่นกัน โดยในการทดสอบปริมาณเชื้อเริ่มต้นที่ใช้ประมาณ 1-2 log CFU/ml อาหารเหลวเพิ่มจำนวนสีที่ได้มีการพัฒนาจะถูกทาการวัดค่าการดูดกลืนแสงภายใน 24 ชั่วโมง หรืออาจจะสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงของสีภายใน 16 – 18 ชั่วโมงในบางกรณีของปฏิกริยา การเปลี่ยนแปลงของอาหารเหลวสีสะท้อนลักษณะจำเพาะของเชื้อแบคทีเรียเป้าหมายที่มีความจำเพาะกับปฏิกริยาดังกล่าว รูปแบบของปฏิกริยาชีวเคมีของแต่ละเชื้อจะบ่งบอกความเป็นไปได้ของการปนเปื้อนของเชื้อที่ปรากฏ สำหรับรูปแบบจำเพาะของการเปลี่ยนสีของอาหารเหลวสามารถถูกนำไปใช้ในการบ่งบอกความเป็นไปได้ในการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์เป้าหมายในตัวอย่างด้วยชุดวิเคราะห์ขนาดเล็ก อาหารเหลวจำเพาะที่ใช้ครอบคลุม 24 สับเสตรที่สามารถเกิดปฏิกริยาได้ และสามารถใช้ได้จริงในการตรวจสอบการปนเปื้อนว่ามีหรือไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสอบในตัวอย่างโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปริมาณที่ต้องการทดสอบจำนวนมากและมีความถี่ในการตรวจสอบ ตัวอย่างอาหารทั้งที่มีการปนเปื้อนโดยธรรมชาติและไม่มีการปนเปื้อนโดยธรรมชาติ ถูกนำมาทดสอบการปนเปื้อนของเชื้อ V. parahaemolyticus โดยใช้อาหารเหลวจำเพาะ 7 อาหารเหลวที่ให้ผลบวกของเชื้อ V. parahaemolyticus จาก 24 อาหารเหลวที่ได้มีการพัฒนาถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบการปนเปื้อนของ V. parahaemolyticus ด้วยรูปแบบการวิเคราะห์ที่นำเสนอพบว่า ผลการวิเคราะห์การปนเปื้อนในตัวอย่างที่ทดสอบให้ผลสอดคล้องดีกับวิธีการวิเคราะห์ที่เป็นมาตรฐานเป็นอย่างดี |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
อาหาร - - การเจือปนและการตรวจสอบ |
th_TH |
dc.subject |
จุลินทรีย์ในอาหาร |
th_TH |
dc.subject |
การปนเปื้อนในอาหาร |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาอาหารเหลวสำหรับการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ Vibrio parahaemolyticus แบบมีอินดิเคเตอร์สีเพื่อบ่งบอกการปนเปื้อนอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมอาหาร |
th_TH |
dc.title.alternative |
Development of chromogenic enrichment broth for Vibrio parahaemolyticus to facilitate early-warning detection in food industry |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
aluck@eng.buu.ac.th |
th_TH |
dc.author.email |
anat@buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2560 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
A practical concept of microbial identification using multiplexed colorimetric enrichment substrates was developed to facilitate foodborne pathogen detection for industrial food samples in resource-poor settings. This detection scheme is seamlessly integrated into the primary liquid enrichment step of the conventional culture-based protocols. This enrichment protocol utilized miniaturized biochemical reactions based on the miniaturized cultivation in 96-well microtiter plates together with the use of high-throughput optical density measurement by a microplate reader. Specific biochemical fingerprints of foodborne pathogens can be obtained from a comprehensive matrix of standard biochemical reactions (i.e., sugar fermentation, amino acid decarboxylation, esculin hydrolysis and hydrogen sulfide production) and used to presumptively identify probability of foodborne pathogen contamination. Multiple color-producing agents including bromocresol purple, phenol red, ferric ammonium citrate, and sodium thiosulfate were added to enable unique colorimetric or absorbance responses. Cell enrichment condition was set at 37 C for 24 h. Several Gram-positive (i.e., Listeria monocytogenes, Staphylococcus aureus, Bacillus cereus) and Gram-negative bacteria (i.e., Salmonella Typhimurium, Yesinia enterocolitica, Vibrio parahaemolyticus) were included in this experiment and they were inoculated at the initial cell concentrations as low as log 1-2 CFU/ml. The broths developed color and alter absorbance within 24 h or as early as 16-18 h in some cases. The shift of broth colors reflected unique cell biochemistry specific to a particular strain. These biochemical fingerprints of each bacteria constituted a presumptive indicator of the existence of foodborne pathogens. Divergence from unique broth color patterns can presumptively signify the absence of the target foodborne pathogens in the samples. Our miniaturized, comprehensive broth set using all 24 substrates can reliably and practically identify the presence of foodborne pathogens suitable for industrial samples having high volumes and high sampling frequency in nature.Three commercial and artificially- V. parahaemolyticus contaminated samples were included in the test. 7 out of 24 developed substrates were selected to test positive of V. parahaemolyticus existence. The results of the proposed protocol agree well with those of the conventional agar-based culture. |
th_TH |