DSpace Repository

การเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่นด้วยโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาร่วมกับกิจกรรมกลุ่มพัฒนาความคิด

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.advisor ประชา อินัง
dc.contributor.author กอบแก้ว บุญบุตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T09:02:42Z
dc.date.available 2023-06-06T09:02:42Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9215
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่น 2) พัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาร่วมกับกิจกรรมกลุ่มพัฒนาความคิด 3) ศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาร่วมกับกิจกรรมกลุ่มพัฒนาความคิด การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตบางเขน จำนวน 1,000 คน โดยใช้แบบวัดชุดความคิดเติบโตที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นและหาเกณฑ์ปกติ (Norms) ของแบบวัด ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการและศึกษาผลการใช้โปรแกรม การปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาร่วมกับกิจกรรมกลุ่มพัฒนาความคิด โดยคัดเลือกนักเรียนที่มีคะแนนชุดความคิดเติบโตอยู่ในระดับต่ำ จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน ดำเนินการปรึกษากลุ่ม จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที ใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการศึกษาชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่น เมื่อเทียบกับเกณฑ์ปกติ พบว่า ชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่นส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยนักเรียนวัยรุ่นมีชุดความคิดเติบโตอยู่ในระดับสูง จำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 22 นักเรียนวัยรุ่นมีชุดความคิดเติบโตอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 553 คน คิดเป็นร้อยละ 55 และนักเรียนวัยรุ่นมีชุดความคิดเติบโตอยู่ในระดับต่ำ จำนวน 226 คน คิดเป็นร้อยละ 23 2. โปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่น พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญาและกิจกรรมกลุ่ม ประกอบด้วย เทคนิคการตั้งเป้าหมาย เทคนิคการจินตนาการ เทคนิคการค้นหาความคิดอัตโนมัติ เทคนิคการตั้งคำถามแบบโสเครติค เทคนิคการปรับความคิด เทคนิคการปรับพฤติกรรม เทคนิคการแก้ปัญหาพายเทคนิค เทคนิคการมอบหมายงานให้ทำ เทคนิคการทดลองการทำพฤติกรรม เทคนิคการกระตุ้นให้กระทำพฤติกรรม โปรแกรมได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน โดยได้ทดลองใช้ก่อนนำไปใช้จริง ขั้นตอนการปรึกษาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุป 3. ชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subject วัยรุ่น -- ทัศนคติ
dc.subject ความคิด
dc.title การเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่นด้วยโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาร่วมกับกิจกรรมกลุ่มพัฒนาความคิด
dc.title.alternative The enhncement of dolescent students’ growth mindset through integrted group counseling progrm with cognitive behviorl theory nd cognitive group ctivities
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to: 1) study growth mindset of adolescent students, 2) develop integrative group counseling program of cognitive behavioral theory and cognitive groups activities, 3) study the results of integrative group counseling program of cognitive behavioral theory and cognitive group activities. The research was divided into two phases. The first phase was studying adolescent students’growth mindset. The sample group was 1,000 Junior High School adolescent students in Bang Khen District through the used of growth mindset test which was developed by the researcher and was analyzed by using norms. In the second phase the development of integrative group counseling program and studying the results of integrative group counseling program of cognitive behavioral theory and cognitive group activities. 20 students whose low scores of growth mindset were randomly assigned into an experimental group and a control group. Each group comprised of 10 students, 12 treatments were given. Each session lasted for 90 minutes, the data were analyzed by using repeated measures ANOVA. The research results were as follows: 1. The results of the adolescent students’ growth mindset when compared to the norms, it was found that the growth mindset of most adolescent students were at the moderate level. There were 221 adolescent students with a high level of growth mindset, representing 22 percents, 553 adolescent students with moderate level of growth mindset, representing 55 percents, and 226 adolescent students with a low level of growth mindset, representing 23 percents. 2. The integrative group counseling program for enhancement of the growth mindset of adolescent students developed from Cognitive Behavioral Theory and group activities consisted of; Goal setting technique, Imagery technique, Automatic thoughts technique, Socratic Question technique, Cognitive technique, Behavior modification technique, Problem solving technique, Pie technique, Homework assignment technique, Behavioral experiment technique, and behavioral stimulation technique. The program was checked for quality, validated by 3 experts and before it was implemented. This integrative group counseling program composed of 3 stages: Initial stage, working stage, and concluding stage. 3. The experimental group had scores of growth mindset for post-test and the follow-up period higher than the control group with statistical significance at the level of .05. 4. The experimental group had scores of growth mindset for post-test and the follow-up period higher than before the experiment with statistical significance at the level of .05.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account