Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตภาคตะวันออก 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์การแปลความหมายคะแนนของตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นในเขตภาคตะวันออก 4) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตภาคตะวันออกการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่หนึ่งการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำ หรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตภาคตะวันออกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 940 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งชั้นสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 99 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .41 ถึง .80 ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .70 ถึง .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิจัยระยะที่สองการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อการศึกษาแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตภาคตะวันออกกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูที่รับผิดชอบงานกิจกรรมนักเรียนในโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมจิตสาธารณะการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลโดยการเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบก้อนหิมะเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเก็บรวมรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตภาคตะวันออก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 18 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) องค์ประกอบการช่วยเหลือผู้อื่น 4 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบการดูแลสมบัติส่วนรวม 3 ตัวบ่งชี้ 3) องค์ประกอบการเคารพสิทธิต่อส่วนรวม 3 ตัวบ่งชี้ 4) องค์ประกอบความรับผิดชอบต่อส่วนรวม 4 ตัวบ่งชี้และ 5) องค์ประกอบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4 ตัวบ่งชี้ 2. การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากดัชนีวัดความสอดคล้องของโมเดล ได้แก่ 𝜒 2=250.24, df =99, GFI =0.97, AGFI= 0.95, CFI = 1.00, RMR = 0.017, RMSEA = 0.0040, x2 /df= 2.51 การประเมินความเหมาะสมของโมเดลการวัด พบว่า ค่าความเชื่อมั่นของตัวแปรแฝง (ρc) มีค่าระหว่าง 0.83 ถึง 0.96 และค่าเฉลี่ยของความแปรปรวนที่สกัดได้ (ρv) มีค่าระหว่าง 0.56 ถึง 0.82 แสดงว่า โมเดลการวัดมีความเชื่อมั่นในระดับที่ยอมรับได้ 3. การสร้างเกณฑ์การแปลความหมายคะแนนของตัวชี้วัดจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการแปลคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐาน T ปกติและกำหนดระดับจิตสาธารณะเป็น 5 ระดับ ดังนี้ คะแนนทีปกติสูงกว่า 69 คะแนน อยู่ในระดับสูงมาก, คะแนนทีปกติระหว่าง 57 ถึง 69 คะแนน อยู่ในระดับสูง, คะแนนทีปกติระหว่าง 44 ถึง 56 คะแนน อยู่ในระดับปานกลาง, คะแนนทีปกติระหว่าง 31 ถึง 44 คะแนน อยู่ในระดับต่ำ และคะแนนทีปกติต่ำกว่า 31 คะแนน อยู่ในระดับต่ำมาก 4. แนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ดังนี้ โรงเรียนควรกำหนดนโยบายเป้าหมายและแผนการปฏิบัติงานในการส่งเสริมจิตสาธารณะที่ชัดเจน และประกาศให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ นอกจากนี้ โรงเรียนควรให้การสนับสนุน เช่น การอบรมให้ความรู้แก่ครูและนักเรียน การสร้างเครือข่ายกับชุมชน สนับสนุนด้านงบประมาณ สนับสนุนให้นักเรียนทำกิจกรรมตามความสนใจ มีการติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ แนวปฏิบัติในการส่งเสริมจิตสาธารณะควรเริ่มจากการสร้างความตระหนัก และแรงจูงใจให้แก่ นักเรียนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และการเสียสละอย่างสม่ำเสมอควรมีการสร้างนักเรียนแกนนำ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีรูปแบบการส่งเสริมจิตสาธารณะสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น บูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาจัดร่วมกับกิจกรรมลูกเสือเนตรนารียุวกาชาด จัดเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรร่วมกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกิจกรรมชุมนุม หรือจัดกิจกรรมพิเศษในโอกาสสำคัญ ๆ ทั้งนี้ โรงเรียนควรดำเนินการส่งเสริมจิตสาธารณะแก่นักเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นนิสัยติดตัวนักเรียนตลอดไป