Abstract:
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาสวัสดิภาพโรงเรียนตามการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเขตการศึกษา 12 ในด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ปลอดภัย การจัดบริการความปลอดภัยในโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนสวัสดิศึกษา การจัดและบริหารงานสวัสดิภาพในโรงเรียนทั้งรายด้านและรวม ทุกด้าน โดยจำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งทางการบริหาร ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการบริหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 12 จำนวน 332 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสรางขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้บริหารโรงเรียนมีการรับรู้ปัญหาสวัสดิภาพในโรงเรียน ดังนี้
1.1 ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ปลอดภัย อยู่ในระดับปานกลาง
1.2 ด้านการจัดบริการความปลอดภัยในโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลาง
1.3 ด้านการจัดการเรียนการสอนสวัสดิศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง
1.4 ด้านการจัดและบริหารงานสวัสดิภาพในโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลาง
1.5 และโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง
2. ผู้บริหารโรงเรียนที่มีเพศต่างกัน รับรู้ปัญหาสวัสดิภาพในโรงเรียนในด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ปลอดภัย ด้านการจัดบริการความปลอดภัยในโรงเรียน และด้านการจัดและบริหารงานสวัสดภาพในโรงเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการจัดการเรียนการสอนสวัสดิศึกษาไม่แตกต่างกัน และผู้บริหารโรงเรียนที่มีอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งทางการบริหาร และสังกัดขนาดของโรงเรียนต่างกัน รับรู้ปัญหาสวัสดิภาพในโรงเรียนไม่แตกต่างกัน
3. ปัญหาในการจัดการเกี่ยวกับปัญหางานสวัสดิภาพในโรงเรียนตามการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 12 เรื่อง การจัดสรรงบประมาณ ขาดการสนับสนุนจากรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคลากรไม่เพียงพอ และขาดความรู้ บุคลากรไม่ให้ความสำคัญ ขาดสื่อและอุปกรณ์สำหรับสอนนักเรียน ขาดแนวทางและการวางแผนเกี่ยวกับโครงสรางการบริหารงานสวัสดิภาพ และขาดการร่วมมือจากบุคลากรในโรงเรียน
The purposes of this research were to study and to compare the school safety problems in each and all aspects of school environmental safety control, school service, safety education and school safety administration according to the perception of the elementary school administrator in the elementary schools under the jurisdiction of the Office of National Primary Educational Commission in Educational Region 12 classified by sex, age, level of education, administration status, school size and administrative experience of the elementary school administrators. The sample consisted of 332 elementary school administrators which were randomly selected from the elementary school administrators under jurisdiction of the Office of National Primary Educational Commission in Educational Region 12. Questionnaire created by the researcher was used for data collection. The One-way ANOVA and t-test were performed to analyze the data.
The results found that:
1.The perception of the school administrator in the aspect of
1.1 school environmental safety control was in the middle level,
1.2 school safety offering was in the middle level,
1.3 safety education was in middle level,
1.4 school safety administration was in the middle level consequently,
1.5 all aspects was in the middle level.
2. The perception of the school administrators who were different in sex in the aspects of school environmental safety control, school safety service and school safety administration was significantly different at .01 level, but in the aspect of safety education was not significant. The differences in age, level of education, administration status, school size and administrative experience of the school administrators had no influence on the perception on the school safety problems of the elementary school administrators.
3. The problems about the safety problems administration in school according to the perception of the elementary school administrators are on: the budgeting; the lack of supporting from the government and related organizations; the lack of staff; the over looking of staff; the lack of teachinh materials, guiding and planning of safety administration structure; and the lack of staff participation.