DSpace Repository

แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพองค์กรของโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรวุฒิ เพ็งพันธ์
dc.contributor.advisor สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
dc.contributor.author ณัทเดช สมหวัง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T09:02:26Z
dc.date.available 2023-06-06T09:02:26Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9178
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ..ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของบุคลากรในการสร้างเสริมสุขภาพองค์กรของโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี และเพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพองค์กรของโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรของโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี จำนวน 15 คน และใช้การสนทนากลุ่มกับผู้บริหารของโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี หัวหน้ากลุ่มงาน ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบตีความและสรุปข้อมูลสำคัญ โดยเสนอรายงานเป็นเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทของบุคลากรในการสร้างเสริมสุขภาพองค์กรของโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ด้าน คือ 1) บทบาทต่อตนเอง ประกอบด้วย การทำให้ตนเองมีความสุขทางกายการมีสุขภาพแข็งแรง การรู้จักผ่อนคลายมีความยืดหยุ่นต่อการใช้ชีวิต การรู้จักเก็บรู้จักใช้ไม่เป็นหนี้โดยใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และการสร้างความสุขจากการมีครอบครัวที่ดีโดยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 2) บทบาทต่อองค์กร ประกอบด้วย การมีน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกันในการทำงาน การได้เรียนรู้มีการพัฒนาต่อวิชาชีพเพิ่มพูนทักษะและมีประสบการณ์ การมีศาสนาและศีลธรรมตามหลักจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการมีความรักความสามัคคีต่อคนในสังคมมีความรักใคร่สามัคคีปรองดองต่อกันในองค์กร 2. แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพองค์กรของโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี สามารถสรุปได้ 2 ด้าน คือ ด้านการจัดการองค์กรเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพองค์กร และด้านการพัฒนาบุคลกรเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพองค์กร ซึ่งมี 4 ภารกิจ ได้แก่ ภารกิจด้านอำนวยการ ภารกิจด้านบริการ วิชาการ ภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ และภารกิจด้านสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยมีผู้บริหารเป็นผู้นำในการวางแผนกำหนดนโยบายในการปฏิบัติงาน และผู้ปฏิบัติงานเป็นทรัพยากรมนุษย์ ที่สำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพองค์กร
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
dc.subject การส่งเสริมสุขภาพ -- ไทย -- ชลบุรี
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.title แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพองค์กรของโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
dc.title.alternative Guidelines for helthy orgniztion promotion in chonburi cncer hospitl
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study the roles of personnel in organizational health promotion in Chonburi Cancer Hospital, and to study guidelines for health organization promotion in Chonburi Cancer Hospital by using qualitative research methods. The data collection was done by in-depth interviews with 15 personnel from Chonburi Cancer Hospital and using focus group discussions with the executives in Chonburi Cancer Hospital. Group leader related, amount 8 persons, data were analyzed by using content analysis methods, interpretation form and summarize important information by writing in a descriptive way. The results of the research were; 1. The roles of personnel in health organization promotion in Chonburi Cancer Hospital composed of two important components; 1) the role to oneself consisted of making oneself happy physically, being healthy, knowing how to relax and be flexible in living, know to save and to spend, and not being in debt by living sufficiently and creating happiness from having a good family by creating good relationships with each other. 2) The roles to the organization consisted of generosity, helping each other, supporting each other in work learning and development of professions, skills and experience. Having religion and morals according to professional ethics and having love and unity among people in society, having love, unity and harmony with one another in the organization. 2. The guidelines for health organization promotion in Chonburi Cancer Hospital can be summarized into 2 aspects: 1) organization management for organization health promotion and 2) personnel development for organizational health promotion which consisted of 4 missions including; administrative duties, academic services mission, academic and medical missions and health service support missions with executives being the leaders in the planning, policy setting in the operation and workers are important human resources in the promotion of organizational health.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account