Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้ในสังคมเมือง 2)การสืบทอดวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมเมือง 3) แนวทางการสืบทอดวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมเมืองพื้นที่ที่ศึกษาได้แก่ กรุงเทพมหานคร และนนทบุรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) และใช้เทคนิคการบอกต่อ (Snowball) ได้แก่ ชาวสวนผลไม้ทั่วไป จำนวน 20 คน ชาวสวนผลไม้ที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 13 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้ในสังคมเมือง จำนวนพื้นที่การทำสวนผลไม้ลดลง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่จากการทำเกษตรกรรม ไปทำธุรกิจบ้านจัดสรรแทน ส่งผลให้ชาวสวนผลไม้ลดน้อยลง สภาพครอบครัวอยู่ร่วมกันอาศัยในชุมชนมากกว่า 30 ปีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรียึดหลักความพอเพียง ประหยัดการแต่งกายเรียบง่าย ปลูกพืชแบบผสมผสาน มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวการคมนาคมในสวนใช้เรือ มีการขุดบ่อน้ำไว้ใช้มีความสุขในการทำสวน มีสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ผลผลิตน้อยไม่พอจำหน่ายและขาดการบริหารจัดการที่ดี 2. การสืบทอดวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมเมือง มาจาก บรรพบุรุษ ครู ภูมิปัญญา เป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย มีการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ความพร้อมจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อมสื่อและแหล่งเรียนรู้สมาชิกครอบครัว ช่วยกันทำงาน ครอบครัวอยู่ร่วมกัน มีรายได้มั่นคง มีการใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามราจัดการด้านตลาด และการประชาสัมพันธ์มีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ช่วยกันอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมชุมชนน่าอยู่มีการปลูกผลไม้ในเข่งเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม และเพิ่มมูลค่า ทำให้ชาวสวนมีรายได้เพิ่มขึ้น และจำหน่ายกิ่งพันธุ์เพื่อเพิ่มรายได้ 3. แนวทางการสืบทอดวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมเมือง ควรส่งเสริม 4 ด้าน ดังนี้ การพัฒนาคน: ตระหนักและเห็นคุณค่า, จริงใจต่อผู้บริโภค, มีจิตบริการ,การใช้เทคโนโลยี แบบดั้งเดิมและแบบใหม่ผสมผสานกัน , การทำงานร่วมกัน,การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น, สืบทอด ความรู้สู่คนรุ่นใหม่ผ่านการเรียนรู้จากครอบครัว สถานศึกษา สื่อ ตามความสนใจและจัดอบรม ความรู้และศึกษาดูงาน การพัฒนาสังคม: สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้, ประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านสื่อที่ หลากหลาย, สร้างความน่าเชื่อถือในสินค้า , สร้างคุณค่าผลผลิต แหล่งเรียนรู้และอัตลักษณ์ชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจ: สร้างรายได้เพิ่ม, สร้างมูลค่าเพิ่ม, สร้างเครือข่ายการตลาด, วิถีชีวิต พอเพียง และปลูกพืชแบบผสมผสาน การพัฒนาสิ่งแวดล้อม:อนุรักษ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, อนุรักษ์พื้นที่สีเขียว, ขุดบ่อน้ำ ไว้ใช้, ทำปุ๋ยชีวภาพ จากวัสดุเหลือใช้, ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ความสุข, สุขภาพดี, ปลอดภัย บริโภค ผักปลอดสารพิษ,อนุรักษ์พันธุ์ส้มบางมดและทุเรียนนนท์ให้คงอยู่คู่ชุมชน และส่งเสริมการปลูกส้ม ในเข่ง