Abstract:
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากลวิธีการสร้างตัวละครปรปักษ์ในวรรณคดีไทยอโดยศึกษาจากวรรณคดีไทยประเภทบันเทิงคดีสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นจำนวน 28 เรื่อง เนื้อหาแบ่งอกกเป็น 4 บทคือ บทที่ 1 บทนำกล่าวถึงความสำคัญของปัญหาและความมุ่งหมาย บทที่ 2 วิเคราะห์กลวิธีการสร้างและลักษณะนิสัยของตัวละครปรปักษ์ บทที่ 3 ศึกษาโลกทัศน์ของกวีในการสร้างตัวละครปรปักษ์ในวรรณคดีไทย บทที่ 4 สรุปผลการวิจัยและข้อเเสนอแนะ
ผลการศึกษาพบว่ากลวิธีการสร้างตัวละครปรปักษ์ในวรรณคดีไทยทั้ง 28 เรื่อง ผู้แต่งใช้กลวิธีการสร้างบุคลิกของตัวละครโดยการบรรยาย พฤติกรรมของตัวละคร และการให้ตัวละครอื่นพูดถึงงตัวละครตัวนั้นซึ่งแสดงถึงประวัติ สถานภาพ ลักษณะนิสัยของตัละครปรปักษ์ รวมทั้งสาเหตุของความขัดแย้งกับพระเอก และความสำคัญของตัวละครปรปักษ์ที่มีต่อเนื้อเรื่อง การศึกษาโลกทัศน์ของกวีในการสร้างตวละครปรปักษ์ กวีสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมไทยในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้านความเชื่อและค่านิยมของสังคมไทยได้อย่างชัดเจน ด้านความเชื่อ ได้แก่ ความเชื่อเรื่องกรรม ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ ความฝัน ส่วนค่านิยมได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความกตัญญูกตเวที ความหยิ่งในศักดิ์ศรี เป็นต้น โดยค่านิยมนั้นมีค่านิยมที่ดีและไม่ดี ทั้งความเชื่อและค่านิยมชี้ให้เห็นว่าสภาพสังคมไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นไปในลักษณะเดียวกันทั้งในด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวิถีชีวิตของประชาชน