dc.contributor.advisor |
ธนวิน ทองแพง |
|
dc.contributor.advisor |
ประยูร อิ่มสวาสดิ์ |
|
dc.contributor.author |
ศุภสัณห์ ศรีวิชัย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-06T04:25:40Z |
|
dc.date.available |
2023-06-06T04:25:40Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8839 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเพื่อการศึกษาศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนางานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในโรงเรียนบ้านบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” ปีการศึกษา 2562 ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการเทียบจากตารางของ Krejcie and Morgan (1970, p. 608) ได้กลุ่มตัวอย่าง 120 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ลักษณะแบบสอบถามเป็นรูปแบบมาตราประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหางานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 39 ข้อ มีอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .55-.89 และความเชื่อมั่น 0.98 ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนางานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของ ค่าคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) การแจกแจงความถี่ ค่าน้ำหนัก และค่าสถิติร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัญหางานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมและรายด้าน ทุกด้าน อยู่ในระดับน้อย ยกเว้นด้านคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบปัญหางานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุ-เคราะห์” จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามประสบการณ์โดยรวมและรายด้าน ทุกด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านคุณภาพผู้เรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เปรียบเทียบปัญหางานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุ-เคราะห์” จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ต่างกัน โดยรวมและรายด้าน ทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 4. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน ได้แก่ 1) ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมี วิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา 2) การดำเนินการบริหารและจัดการของสถานศึกษาในด้านวิชาการ 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับความสนใจ ความต้องการ และความถนัดของผู้เรียน และ 4) การวางระบบการจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ประกันคุณภาพการศึกษา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.title |
ปัญหาและแนวทางการพัฒนางานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านบึง "อุตสาหกรรมนุเคราะห์" สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 |
|
dc.title.alternative |
The problems nd collective guidelines of internl qulity ssurnce development in bnbung uttshkmnukhro school under the office of secondry eduction service re 18 |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this research were to study the problems, and collective guidelines of internal quality assurance development in Banbung Uttasahakamnukhro school under the Office of Secondary Education Service Area 18. The sample was 120 teachers in Bunbung Uttasahakamnukhao school selected by stratified random sampling. The number of sample was determined by the Krejcie and Morgan’s table (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608). Data collection instrument in this study was a five-point-rating-scale questionnaire where part 1 asked 39 questions concerning the problems of internal quality assurance development in Banbung Uttasahakamnukhro School. The item discrimination power was between .55-.89, and the reliability was .98 .The statistical methods used in this study were Average ( ), Standard Deviation (SD) and One-way ANOVA The research reached the following conclusions; 1. The problems of internal quality assurance development in Banbung Uttasahakamnukhro School under the Office of Secondary Education Service Area 18 both in general and each aspect were at a moderate level. 2. The comparison of the problems of internal quality assurance development in Banbung Uttasahakamnukhro School under the Office of Secondary Education Service Area 18 as rated by teacher with different work experience both in general and each aspect, showed no statistical significant different. These excluded the work in the area of student quality which shown statistical significant different at 0.05. 3. The comparison of the problems of internal quality assurance development in Banbung Uttasahakamnukhro School under the office of secondary education service area 18 as rated by teachers with different department both in general and each aspect, showed statistical significant different at 0.05 level. 4. The guidelines of internal quality assurance development in Banbung Uttasahakamnukhro School under the Office of Secondary Education Service Area 18 were; 1) the students should develop the ability in critical thinking, discussing, exchanging ideas and problems solving, 2) the management in academic institutions, 3) The teaching and learning process is consistent with the interests, needs, and aptitude of the students, and 4) the system of educational quality management system of the school arosen from the participation of all concerned parties. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
การศึกษามหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|