Abstract:
การวิจัยพัฒนานี้ เพื่อพัฒนานวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ด้วยการบูรณาการ การได้รับเสียงที่น่ารื่นรมย์ เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ สร้างการมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหว และส่งเสริมการคิดบวกกลุ่มศึกษาและทดลองมีอายุ 60-69 ปี เพศหญิงไทย รวม 252 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องตรวจวัดคลื่นสมอง แบบบันทึกผลการตรวจเลือด และคลื่นสมอง แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก ประชุมกลุ่มเฉพาะ แบบสังเกต แบบวัดความเศร้า ในผู้สูงอายุไทย แบบประเมินการเปลี่ยนแปลงตนเอง แบบประเมินประสิทธิภาพ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิงในรูปของไคว์สแคว์อัตราส่วนออดส์การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมมากกว่าร้อยละ 30 คือ โรคไขมันในเลือดสูงและภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน การออกกำลังกายที่ผู้สูงอายุปฏิบัติอยู่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้ 4.75, 3.23, 2.18 เท่า (95% CI: 1.43-15.75, 1.64-6.35, และ 1.00-4.78) ตามลำดับ ไม่มีกิจกรรมใดเลยที่มีการบูรณาการ 2ส 2ข ครบ โดยพบในรูปแบบออกกำลังกายมากที่สุดเพียง 3 องค์ประกอบ คือเต้นรำเทคนิคเต้า เต๋อซินซี และลีลาศ และพบว่า ที่ขาดมากที่สุด คือ การสอดแทรกการคิดบวกในเนื้อเพลงนวตกรรม 2ส 2ข ที่พัฒนาขึ้น คือ รูปแบบการออกกำลังกายพรีบร้า (PREBRA) ซึ่งประกอบด้วย เพลง รูปแบบและท่าทางออกกำลังกาย วีดิทัศน์ และคู่มือปฏิบัติการออกกำลังกายที่ผ่านการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดในด้าน ประโยชน์( X = 4.35+0.67) ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับมาก เมื่อนำไปทดลองกับกลุ่มผู้สูงอายุที่ศึกษา พบประสิทธิผลในการลดความดันโลหิตตัวบนไตรกลีเซอไรด์ คะแนนภาวะซึมเศร้า เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลดีชนิด HDL และสุขภาพสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มทดลองมีการปรับลดยาของโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง และรับรู้การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ในทางที่ดีขึ้น ดังนั้นนวตกรรม 2ส 2ข ที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสามารถช่วยป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ หน่วยงานที่เกี่ยว สามารถนำไปส่งเสริมสุขภาพประชากรสูงอายุแบบองค์รวม เพื่อเป็นทางเลือกในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุไทยต่อไป