DSpace Repository

สมการทำนายการรับสัมผัสสาร โทลูอีนที่มีผลกระทบต่อระบบประสาทในแรงงานข้ามชาติพ่นสีโรงงานผลิตของเล่นแห่งหนึ่งจังหวัดปทุมธานี

Show simple item record

dc.contributor.advisor อนามัย เทศกะทึก
dc.contributor.advisor นันทพร ภัทรพุทธ
dc.contributor.author คีรีมาส อเต็นต้า
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:25:17Z
dc.date.available 2023-06-06T04:25:17Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8801
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบประสาท และสร้างสมการทำนายการรับสัมผัสสารโทลูอีนที่มีผลกระทบต่อระบบประสาทในแรงงานข้ามชาติพ่นสีโรงงานผลิตของเล่นแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชา จำนวน 103 คน ประกอบด้วยกลุ่มรับสัมผัสทำงานที่แผนกพ่นสีและกลุ่มควบคุมทำงานที่แผนกอื่น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ประเมินอาการผิดปกติทางระบบประสาทที่ดัดแปลงมาจากแบบสอบถาม Euroquest questionnaire (EQ) ประเมินความบกพร่องด้านประสาทจิตวิทยาจากแบบทดสอบความจำ Digit span forward และ Digit span backward ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Psychology Experiment Building Language (PEBL) และการตรวจความ เข้มข้นของสารโทลูอีนในปัสสาวะ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มรับสัมผัสส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 28.7 (SD = 5.5) ปี ศึกษาเกรดหนึ่งถึงหกจำนวนคนที่ไม่ดื่มและเคยดื่มแอลกอฮอล์เท่ากัน ปัจจุบันสูบบุหรี่ร้อยละ 11.6 กลุ่มควบคุมเป็นเพศชายและหญิง จำนวนใกล้เคียงกัน อายุเฉลี่ย 28.4 (SD = 6.2) ปีศึกษาเกรดหนึ่งถึงหก ส่วนใหญ่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์และปัจจุบันสูบบุหรี่ ร้อยละ 5.8 ทั้งกลุ่มรับสัมผัสและกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่ไม่เคยทำงานที่เกี่ยวกับสารตัวทำละลายอินทรีย์มาก่อน มีระยะเวลาการทำงานที่แผนกพ่นสีเฉลี่ย 1.7 (SD = 0.8) ปีจำนวนทำงานล่วงเวลารวมต่อสัปดาห์ของกลุ่มรับสัมผัสและกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่มากกว่า 12 ชั่วโมงการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ หน้ากากและถุงมือป้องกันการสัมผัสสีมีใช้ในกลุ่มรับสัมผัสเท่านั้น ทั้งสองกลุ่มมีการดูแลรักษาสุขอนามัยเป็นส่วนใหญ่โดยมีการล้างมือก่อนทานอาหาร ดื่มน้ำและหลังเลิกงาน และอาบน้ำหลังเลิกงานเป็นประจำความเข้มข้นของสารโทลูอีนในปัสสาวะของกลุ่มรับสัมผัสจำนวน 97 คน และกลุ่มควบคุม 103 คน น้อยกว่า 10 µg/L กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่มีอาการผิดปกติจากแบบ สัมภาษณ์ทั้งในส่วนอาการที่เกิดจากความเป็นพิษแบบรื้อรังและเฉียบพลันระดับนาน ๆ ครั้ง ไม่เคยมีหรือมีบางครั้งและจำนวนแรงงานข้ามชาติของกลุ่มรับสัมผัสที่มีอาการบ่อยในแต่ละกลุ่มอาการ ตั้งแต่ 3 อาการขึ้นไปมีมากกว่ากลุ่มควบคุมในทุก ๆ ประเภทกลุ่มอาการคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบความจำ Digit span forward และ Digit span backward ของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกัน โดยมีค่า t เท่ากับ -2.842 (0.756, -0.137) และ -3.221 (-0.736, -0.177) ตามลำดับ ปัจจัยที่มี ผลกระทบต่อระบบประสาทได้แก่แรงงานข้ามชาติที่มีระดับการศึกษาเกรดหนึ่งถึงหกมีอาการผิดปกติแบบเรื้อรังด้านกลุ่มอาการทางจิตสรีระมากกว่าแรงงานที่ศึกษาเกรดเจ็ดถึงสิบสอง 2.179 เท่าโดยที่ OR (95% CI) เท่ากับ 2.179 (1.066, 4.454) แรงงานข้ามชาติเพศชายมีอาการผิดปกติแบบเรื้อรังด้านกลุ่มอาการนอนไม่หลับมากกว่าเพศหญิง 4.000 เท่าโดยที่ OR (95% CI) เท่ากับ 4.000 (1.029, 15.546) พบความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่ในปัจจุบันกับผลกระทบต่อความบกพร่องด้านประสาทจิตวิทยาจากแบบทดสอบความจำ Digit span forward โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ เท่ากับ -0.537 ดังนั้นสมการทำนายการรับสัมผัสสารโทลูอีนที่มีผลกระทบต่อระบบประสาท ประกอบด้วย สมการที่ 1 สมการทำนายผลกระทบต่ออาการผิดปกติของระบบประสาทจากแบบสัมภาษณ์: กลุ่มอาการทางจิตสรีระ y = 1.862 + 0.779 ระดับการศึกษา (เกรดหนึ่ง ถึงหก) สมการที่ 2: กลุ่มอาการนอนไม่หลับ y = 3.664 + 1.386 เพศ (ชาย) และสมการที่ 3 สมการทำนายผลกระทบต่อความบกพร่องด้านประสาทจิตวิทยาจากแบบทดสอบความจำ Digit span forward คือ y = 4.000 -0.537 ประวัติสูบบุหรี่ (ปัจจุบันสูบ) โดยสรุปสามารถนำข้อมูลมาใช้เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพของคนงานเพื่อลดอัตราการเกิดผลกระทบต่อระบบประสาทจากการทำงานสัมผัสสารโทลูอีน โดยรณรงค์ให้ทราบถึงผลเสียจากการสูบบุหรี่และเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับผลเสียจากการรับสัมผัสสารโทลูอีนเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง รวมถึงวิธีการปฏิบัติงานเพื่อลดการรับสัมผัสสารโทลูอีน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โทลูอีน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.title สมการทำนายการรับสัมผัสสาร โทลูอีนที่มีผลกระทบต่อระบบประสาทในแรงงานข้ามชาติพ่นสีโรงงานผลิตของเล่นแห่งหนึ่งจังหวัดปทุมธานี
dc.title.alternative The eqution to predict the effect of toluene exposure to nervous system mong sprying migrnt workersin toy mnufcturing fctory, pthumthni
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this cross-sectional study were to study the factors and create an equation to predict the effect of toluene exposure to the nervous system among spraying migrant workers in a toy manufacturing factory in Pathumthani province. A sample of 103 Cambodian workers per group consisted of the exposed group working at painting department of the factory and the control group were working in other departments in the same factory. Data were collected using an interview form that was adapted from an Euroquest questionnaire (EQ) to evaluate neurological symptoms, the Digit span forward and backward memory test using the Psychology Experiment Building Language (PEBL) computer program to evaluate neuropsychological impairment. Urine samples were also taken to evaluate toluene concentration in urine. The results of the study showed that most workers of exposed group were male with an average age of 28.7 years (SD = 5.5). Their educational attainment ranged from grade one to six. Half of the workers drank alcohol; 11.6 percent of the sample reported to currently smoke. The number of male and female workers of the control group were almost the same. Their average age was 28.4 (SD = 6.2) years, their educational level was similar to the exposed group, most of them did not drink alcohol and 5.8 percent currently smoked. Most of the workers in both groups were never exposed to organic solvents during previous jobs they held. The average working duration of the exposed group at the painting department was 1.7 years (SD = 0.8). Both the exposed and control groups worked more than 12 hours overtime per week on average. Personal protective masks and gloves were used only by the exposed group. Both groups reported to wash their hands before eating, drinking and after work, and shower after work regularly. The concentration of toluene found in the urine samples of the 97 exposed workers and 103 control workers was less than 10 µg / L. The result of the interview data found that most workers in both groups reported to never, seldom or sometimes experience abnormal acute and chronic neurological symptoms. The exposed group had at least 3 more abnormal symptom per domain for all symptom domains than the control group. The average score from the Digit span forward and backward memory test of the two groups were also different with a t-test score of -2.842 (0.756 , -0.137) and -3.221 (-0.736, -0.177) respectively. Factors that were related to nervous system complaints were educational attainment level and sex; workers who graduated grade one to six had more chronic symptoms of the psychosomatic symptom domain with OR (95% CI) 2.179 (1.066, 4.454) than workers who graduated grade seven to twelve, and male workers reported more chronic symptoms of the sleep disturbance symptom domain than females with OR (95% CI) 4.000 (1.029, 15.546). Current smokers were found to have neuropsychological affects that were higher than non-smokers, with Digit span forward memory test scores with a regression coefficient -0.537. Thus, the prediction equation for toluene exposure to the nervous system can be derived. Equation 1 can be derived from the data collected via the interview forms, as follows: Psychosomatic symptom domain y = 1.862 + 0.779Education level (grade one to six) .Equation 2 can be derived same Equation 1, as follows: Sleep disturbance symptom domain y = 3.664 + 1.386sex (male). Equation 3 can be derived from the Digit span tests, as follows: y = 4.000 -0.537Smoking history (current smoker) . In conclusion, the data collected in this study can be used as a guideline to assess the health of workers exposed to toluene in their workplace, in order to reduce the effect of this exposure on the nervous system. Intervention-wise, the effects of toluene exposure can be reduced highlighting the negative effects of smoking. Overall, the knowledge of workers about the long term impacts of toluene exposure and working practices should be improved.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account