DSpace Repository

การวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนต่อการให้บริการของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author พวงทอง อินใจ
dc.contributor.author เวธกา กลิ่นวิชิต
dc.contributor.author สรร กลิ่นวิชิต
dc.contributor.author กาญจนา พิบูลย์
dc.contributor.author พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ en
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:48Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:48Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/878
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองแสนสุข เพื่อประเมินสถานการณ์ในชุมชนและทราบถึงความต้องการของชุมชน ด้านสังคมและวัฒนธรรม ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพการแพทย์และการสาธารณสุข ค้นหาวิธีการสร้างความมีส่วนร่วมของชุมชน ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ หรือ อุปสรรค์ในการพัฒนาการให้บริการวิชาการของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixedmethodology) โดยวิจัยเชิงสำรวจและวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชากรที่อาศัยอยู่จริงในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 44,312 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตังอย่างของเครจ์ซี่และมอร์แกน (Krejcie and Moegan, 1960) ได้จำนวนของกลุ่มตัวอย่าง 315 คน สุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จาก ตำบล แสนสุข เหมือง และห้วยกะปิ ใช้ระยะเวลาในการศึกษาวิจัย 1 ปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข มีความต้องการการบริการวิชาการ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X = 4.28. SD = 0.53) โดย มีความต้องการด้านการบริการรักษาพยาบาล อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.59, SD = 0.60) รองลงมา คือ ความต้องการด้านการบริการวิชาการและการวิจัย อยู่ในระดับ มากที่สุด (X = 4.51, SD = 0.52) ด้านการบริการรักษาพยาบาล มีความต้องการการให้บุคลากรทางการแพทย์มีจิตบริการ เอื้อเฟื้อ เอื้ออาทร ดุจญาติมิตร อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.92, SD = 0.43) ส่วนด้านการบริการวิชาการและการวิจัย มีความต้องการให้จัดประชุมวิชาการด้านสุขภาพประจำปี อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.75, SD = 0.50) ประเด็นเร่งด่วนที่รับบริการต้องการการบริการวิชาการ คือ การจัดสถานที่ฟื้นฟูสุขภาพแก่ผู้สูงอายุและผู้พิการอย่างครบวงจร ร้อยละ 36 และมีข้อเสนอแนะให้นำข้อมูลจากการสำรวจขั้นพื้นฐานนี้ไปศึกษาความต้องการของชุมชนในเชิงลึกในแต่ละด้าน โดยกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนาร่วมกันให้เกิดการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรมต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การบริการทางการพยาบาล th_TH
dc.subject ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ th_TH
dc.title การวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนต่อการให้บริการของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Community needs assessment for academic service of Health Science Center, Faclty of Medicine, Burapha University en
dc.type Research th_TH
dc.year 2555
dc.description.abstractalternative The purpose of this research were designed to investigate and lyst problem issues of the community needs for academic service of Health Science Center, Faculty of Medicine, Bura[pha University. This study was mixed methods research. The 315 participants were the stratified ramdom sampling from 44,312 population who live in Sanseuk municipality,Chonburi. Statistics employed Were percentage, mean and standard deviation. Lt was found That ; The people in Sanseuk need the academic services from Health Science Center in the high (X = 4.28. SD = 0.53). The health care services needs and academic and research services needs were in the highest level (X = 4.59, SD = 0.60 and X = 4.51, SD = 0.52). In the health care services needs, The most community need was health care professorship and caring in highest level(X = 4.92, SD = 0.43). Furthermore, in the academic services and research service needs, they needed Health Science Center to provide the annual Academic meeting or conferencing in community health problems in the highest level(X = 4.75, SD = 0.50). The urgent issues of academic service need was enhancing potential and quality of elderly and disabled patient rehabilitation. This research suggestion was in-depth the community needs and participated with them for meet their needs and develop the community together. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account