DSpace Repository

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author อาภรณ์ รัตนวิจิตร th
dc.contributor.author วัลภา คุณทรงเกียรติ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:48Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:48Z
dc.date.issued 2541
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/875
dc.description.abstract โรคหลอดเลือดในสมองเป็นโรคเรื้อรังที่มีอัตราการเกิดสูงขึ้นและสัมพันธ์กับการพัฒนาสังคมสู่สังคมอุตสาหกรรม ผู้ป่วยที่รอดชีวิตมาได้มักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ทำให้ผู้ป่วยขาดความสามารถในการดูแลตัวเอง ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นตลอดเวลา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลอดเลือดและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีปัจจัยต่างๆ แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยที่รับไว้รักษาซ้ำในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปในภาคตะวันออก จำนวน 390 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2541 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นในส่วนการพึ่งพาสังคม .82 และส่วนคุณภาพชีวิตแบบหลายมิติ .86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะหืความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ (Scheffe) และ แอลเอสดี (LSD) ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองในภาคตะวันออกอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.16, SD = 1.05 ; X¯= 4.89, SD = 2.14) และพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกับอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติในด้านเพศ (P<.01) สถานภาพสมรส (P<.05) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว (P<.05) สถานที่พักอาศัย (P<.001) โรคแทรกซ้อน (P<.001) ชนิดของอุปกรณ์ที่ใช้ขณะเคลื่อนไหว (P<.05) การพึ่งพาสังคม (P<.001) และชนิดของผู้ดูแล (P<.05) ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พยาบาลและบุคคากรในทีมสุขภาพควรตระหนังถึงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยเพศหญิง กลามที่มีสภาพสมรสหม้าย อย่า แยก กลุ่มที่มีรายได้ครอบครัวต่ำ กลุ่มที่ไม่มีที่พักอาศัยเป็ยของตนเอง กลุ่มที่มีโรคแทรกซ้อน กลุ่มที่ใช้รถเข็นนั่ง กลุ่มที่พึ่งพาสังคมสูงและกลุ่มที่ผู้ดูแลไม่ใช่คู่สมรส โดยการให้คำปรึกษาและจัดฌครงการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งในขณะอยู่โรงพยาบาลและภายหลังจำหน่ายกลับบ้าน th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คุณภาพชีวิต th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject โรคหลอดเลือดสมอง - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - ผู้ป่วย th_TH
dc.title คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative Quality of life of stroke patients in Eastern region fo Thailand th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2541
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to examine and compare the quality of life among groups of stroke patients in Eastern region of Thailand. All of 390 samples were selected by purposive sampling technique. Data were collected by interviewing with questionnaires (reliability .82 and .86) and analyzed by percentage, arithmetic means, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, Scheffe and LSD. The results of study indicated that the overall scores of quality of life were fair. (X=3.16, S.D. = 1.05 ; X = 4.89, S.D. = 2.14). The factors that effect the quality of life of the samples were sex (P<.01), marital status (P<.05), family incomes (P<.05), resident (P<.001), complication (P<.001), devices (P<.05), social dependent (P<.001) and care giver (P<.05) Recommendations from this study, nurses and health team should concern and give counseling to stroke victims who are female, widow/divorce/separated, low family incomes, got complication, high social dependent, utilize wheelchair, not live in their own home and not spouse care giver. Moreover, nurses and health team should arrange promotion projects to improve quality of life of strokes victims both in hospital and community en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account