Abstract:
โรคหลอดเลือดในสมองเป็นโรคเรื้อรังที่มีอัตราการเกิดสูงขึ้นและสัมพันธ์กับการพัฒนาสังคมสู่สังคมอุตสาหกรรม ผู้ป่วยที่รอดชีวิตมาได้มักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ทำให้ผู้ป่วยขาดความสามารถในการดูแลตัวเอง ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นตลอดเวลา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลอดเลือดและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีปัจจัยต่างๆ แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยที่รับไว้รักษาซ้ำในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปในภาคตะวันออก จำนวน 390 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2541 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นในส่วนการพึ่งพาสังคม .82 และส่วนคุณภาพชีวิตแบบหลายมิติ .86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะหืความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ (Scheffe) และ แอลเอสดี (LSD)
ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองในภาคตะวันออกอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.16, SD = 1.05 ; X¯= 4.89,
SD = 2.14) และพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกับอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติในด้านเพศ (P<.01) สถานภาพสมรส (P<.05) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว (P<.05) สถานที่พักอาศัย (P<.001) โรคแทรกซ้อน (P<.001) ชนิดของอุปกรณ์ที่ใช้ขณะเคลื่อนไหว (P<.05) การพึ่งพาสังคม (P<.001) และชนิดของผู้ดูแล (P<.05)
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พยาบาลและบุคคากรในทีมสุขภาพควรตระหนังถึงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยเพศหญิง กลามที่มีสภาพสมรสหม้าย อย่า แยก กลุ่มที่มีรายได้ครอบครัวต่ำ กลุ่มที่ไม่มีที่พักอาศัยเป็ยของตนเอง กลุ่มที่มีโรคแทรกซ้อน กลุ่มที่ใช้รถเข็นนั่ง กลุ่มที่พึ่งพาสังคมสูงและกลุ่มที่ผู้ดูแลไม่ใช่คู่สมรส โดยการให้คำปรึกษาและจัดฌครงการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งในขณะอยู่โรงพยาบาลและภายหลังจำหน่ายกลับบ้าน