DSpace Repository

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลหน่วยเฉพาะกิจหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ ในการปฏิบัติในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลา

Show simple item record

dc.contributor.advisor จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์
dc.contributor.author พิเชษฐ์ เมืองโคตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:21:06Z
dc.date.available 2023-06-06T04:21:06Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8759
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562
dc.description.abstract การวิจัย เรื่องแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลหน่วยเฉพาะกิจหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งกองทัพเรือในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้และจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งกองทัพเรือในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ จังหวัดสงขลาและ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งกองทัพเรือในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กำลังพลหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งกองทัพเรือที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลา จำนวน 115 คน ในการศึกษาในครั้งนี้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม กำลังพลส่วนใหญ่มีอายุ 20-30 ปีส่วนใหญ่มีชั้นยศ นายทหารชั้นประทวน มีสถานภาพสมรสมากที่สุด ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาระดับอนุปริญญา/ ปวส รายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ระดับตำแหน่ง/ ขั้นเงินเดือน อยู่ในระดับนายทหารประทวน 1 และการรับรู้ความเสี่ยงของกำลังพล ฯ ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลาอยู่ในระดับน้อย 2. การวิเคราะห์แรงจูงใจในการปฏิบัติการของกำลังพลหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งกองทัพเรือในการไปปฏิบัติงานหน่วยเฉพาะกิจหน่วยบัญชาการต่อสู้ อากาศยานและรักษาฝั่งกองทัพเรือในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลา ระดับแรงจูงใจของกำลังพลที่มีต่อการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายภาคใต้และจังหวัดสงขลา โดยรวมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด พบว่า ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านนโยบาย และการบริหาร ด้านความก้าวหน้า ด้านสภาพการทำงาน ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านความเจริญก้าวหน้าส่วนบุคคล ด้านงานที่ท้าทาย ด้านค่าตอบแทน ด้านการยอมรับนับถือและด้านความสำเร็จของงาน ตามลำดับ 3. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจของกำลังพลหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน และรักษาฝั่งกองทัพเรือในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลา ใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุพบว่า ตัวแปรอิสระในปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่อายุชั้นยศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาระดับตำแหน่ง/ ขั้นเงินเดือน และการรับรู้ความเสี่ยง สามารถอธิบายการผันแปรของแรงจูงใจของกำลังพล หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งกองทัพเรือในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลาคิดเป็นร้อยละ 24.6 เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวแปรอิสระ พบว่า การรับรู้ความเสี่ยงมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
dc.subject ทหารเรือ -- การทำงาน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.title แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลหน่วยเฉพาะกิจหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ ในการปฏิบัติในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลา
dc.title.alternative Work motivtion of specil tsk force in ir nd costl defend commnd, the royl thi nvy in working in three southern border provinces nd song khl province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was twofold. First, it aimed at examining work motivation of a special task force unit in Air and Coastal Defend Command, the Royal Thai Navy in working in three southern border provinces and Song Khla Province. Also, this study intended to investigate factors affecting work motivation of this special task force. The population of this study was 115 staff working for Air and Coastal Defend Command who were supposed to work in a special task force unit located in three southern border provinces and Song Khla Province. The instrument used to collect the data was a questionnaire. The statistical tests used to analyze the collected data included frequency, percentage, standard deviation, and the test of multiple regressions. The results of the study were as follows: The majority of the respondents were staff at a non-commissioned level, aged 20-30, and having an amount of income of 10,001-20,000 baht. Specifically, those who were at a non-commissioned level 1, demonstrated a low level of risk awareness in working in a three southern border provinces and Song Khla province. It was found that the level of work motivation among the subjects working for the special task force unit in Air and Coastal Defend Command, the Royal Thai Navy in three southern border provinces and Song Khla Province was at a high level. When considering each aspect, the one in relation to responsibility was rated with the highest mean score, followed by the aspects of interpersonal relationship, policy and administration, job advancement, work condition, supervision, job security and personal advancement, challenging job, acceptance and respect, and work achievement, respectively. Based on the test of multiple regression analysis of factors affecting work motivation among the subjects working for the special task force unit in Air and Coastal Defend Command, the Royal Thai Navy in three southern border provinces and Song Khla Province, it was indicated that personal factors, including, work rank, marital status, educational level, work position/ amount of monthly salary, and a level of risk awareness could account for 24.6 % of the variance in work motivation among the subjects working for the special task force unit. Finally, it was shown that the variables of risk awareness significantly affected work motivation among the subjects working for the special task force unit at a significant level of .01.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account