DSpace Repository

สุขภาพชุมชน กระบวนการทำงานและการสร้างงานพยาบาลของชุมชน : กรณีศึกษาภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ th
dc.contributor.author นิสากร กรุงไกรเพชร th
dc.contributor.author วรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม th
dc.contributor.author ฉันทนา จันทวงศ์ th
dc.contributor.author รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ th
dc.contributor.author พรนภา หอมสินธุ์ th
dc.contributor.author สุวดี สกุลคู th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:48Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:48Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/867
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพในรายกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของสุขภาพชุมชน รูปแบบการปฏิบัติงานในบทบาทของพยาบาลของชุมชน ปัจจัยที่เป็นส่วนสนับสนุนการปฏิบัติงาน และการจ้างงานพยาบาลของชุมชน ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงาน ณ หน่วยงานที่เคยได้รับรางวัลในการจัดระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และหรือได้รับการยอมรับจากประชาชนผู้ใช้บริการว่ามีบริการที่ดี หรือมีลักษณะบริการเฉพาะที่น่าสนใจ จากศูนย์สุขภาพชุมชนกระทรวงสาธารณสุขภาพ 2 แห่ง กระทรวงมหาดไทย 1 แห่ง มูลนิธิ 1 แห่ง หน่วยบริการสุขภาพในโรงงานอุตสาหกรรม 1 แห่ง รัฐวิสาหกิจ 1 แห่ง และพยาบาลพยาบาลอิสระ 1 ท่าน รวมเป็นพยาบาลของชุมชนจำนวน 7 แห่ง เก็บข้อมูลจากพยาบาลที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย บุคลากรทีมสุขภาพที่ร่วมปฏิบัติงาน แห่งละ 1-3 คน ประชาชนผู้ใช้บริการหรือรับผลของการบริการ แห่งละ 1-5 คน ผู้บังคับบัญชา โดยตรงกับพยาบาลของชุมชนที่คัดเลือกและหรือคณะกรรมการในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่คัดเลือก ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการบันทึกเสียง ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า และการส่งข้อมูลกลับแก่ผู้ให้ข้อมูลยืนยันความถูกต้อง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลหาวิจัยมีดังนี้ 1. สุขภาพชุมชน มีความหมายเป็นองค์รวมใน 3 มิติ คือ 1) การไม่ป่วย 2) การพัฒนาทางกายภาพของชุมชน สิ่งแวดล้อมที่ดี และการมีส่วนร่วมของชุมชน 3) มีการให้บริการสุขภาพที่ครอบคลุม 4 มิติ คือ การรักษาโรคเบื้องต้น การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพ 2. การดูแลสุขภาพชุมชนจะต้องเป็นการปฏิบัติงานร่วมกัน ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ สำหรับผู้ให้บริการที่สำคัญ คือ พยาบาลชุมชน และทีมสหสาขาวิชาชีพสุขภาพ 3. พยาบาลชุมชนมีการดำเนินงานลักษณะเชิงรับและเชิงรุก โดยใช้ข้อมูลและสารสนเทศ การสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของของคนในชุมชน การเป็นตัวอย่างที่ดี การสร้างสัมพันธ์ภาพกับชุมชน การตรวจคัดกรองโรค เป็นเครื่องมือในการทำงาน 4. ผลลัพธ์ของการดูแลสุขภาพชุมชนมี 3 ประการ คือ 1) ผลต่อประชาชนในชุมชน มีการเพิ่มขึ้นของพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสุขภาพของชุมชน 2) ผลต่อชุมชน มีการพัฒนาทางกายภาพ สิ่งแวดล้อม 3) ผลต่อผู้ให้บริการ การเจ็บป่วยของประชาชนลดลง ต้นทุนการทำงานที่ลดลง ประชาชนพอใจต่อบริการ และมีการเรียนรู้ 5. สมรรถนะด้านบุคคล ได้แก่ ความตั้งใจ และความรักในงานชุมชน ความเสียสละ มีมนุษยสัมพันธ์ การประสานงาน และการสื่อสารที่ดี สมรรถนะด้านวิชาการ ได้แก่ ความสามารถด้านเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) การปฏิบัติงานชุมชน การใช้คอมพิวเตอร์และข้อมูล ระบบสารสนเทศ และการดูแลสุขภาพกลุ่มเฉพาะ th_TH
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ภายใต้แผนงานสร้างพยาบาลของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject Community health th_TH
dc.subject Community nurse th_TH
dc.subject Nurse of community th_TH
dc.subject การพยาบาลอนามัยชุมชน th_TH
dc.subject อนามัยชุมชน th_TH
dc.title สุขภาพชุมชน กระบวนการทำงานและการสร้างงานพยาบาลของชุมชน : กรณีศึกษาภาคตะวันออก th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2550
dc.description.abstractalternative The purpose of this qualitative research was to describe the meaning of community health and the process of community nurse practice. The participants were 7 nurses who working at halt service center that have been respected from their population. They were 2 nurses from primary care unit of the Public Health Ministry, one from the Ministry of Interior health service, foundation health service, industrial health service, public enterprise health service, and one was a freelance nurse. The participants also included 1-3 health care team personnel from those organization, 1-5 clients, administrators, and committee of their local organizations. In-depth interview with tape record were used for data collection. Triangulation was used to confirm the data quality. The data was analyzed by content analysis. The results of the study were as follow: 1. The meaning of community health was 3 dimensions holistically: 1) no illness 2) community physical and environmental development, include community participation, and 3) health care service that covers 4 dimensions of curative, health promotion, disease control and prevention, and rehabilitation. 2. Community health care was the co-work of the clients and health workers. The core health care providers were nurse of the community and multi-disciplinary health care team. 3. Nurse of community was both assertive and passive work that needs data and information to build the feeling of owner from the people in their own community. Nurse of community needed a good model, closed relationship with the community and health screening technigues. 4. Community nursing care outcome were 1) to the community member: community member's health promotion behavior was increased, be able to access to health care and participated in community activities, 2) to the community: improvement in physical environment and 3) to the health care providers: decrease in clients illness, decrease in providing health care service cost, increase in client satisfaction, and be able to learn. 5. Nurses of community competencies consisted of: intention and love to work in community, sacrifice, good relationship, co-ordination, good communication skill, and academic potential which were nurse practitioner skill (primary medical care), community practice performance, computer skill, data and information management skill, and aggregate health care skill. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account