dc.contributor.advisor | เบญญาดา กระจ่างแจ้ง | |
dc.contributor.author | อาทิตย์ วิเศษสิทธางกูร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T04:12:08Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T04:12:08Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8668 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการยกระดับศักยภาพ วิเคราะห์และประเมินผลความสำเร็จของโครงการยกระดับศักยภาพ หมู่บ้าน และเพื่อทราบปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการและสามารถเสนอแนะแนวทางที่จะทำให้การดำเนินโครงการเกิดผลสำเร็จอย่างยั่งยืนเป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ โดยศึกษาในอำเภอวัฒนานคร 2 ตำบล 6 หมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลใช้แบบตีความ (Interpretation) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษา พบว่า การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐคือ ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย ด้านผู้นำชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และด้านความต้องการของชุมชน ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย ด้านเครือข่ายภาครัฐ ด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลข่าวสารและด้านกลไกส่งเสริมการทำ งานร่วมกัน ด้านผลลัพธ์พบว่า ทุกโครงการประชาชนได้ประโยชน์ด้านการสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการดำเนินโครงการการใช้ประโยชน์โครงการและเกิดเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านผลลัพธ์ต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดด้อมในชุมชน นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการที่เกิดจากทุนทางสังคม โดยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในชุมชน ด้านการดูแลรักษา และด้านการขยายผล มีการต่อยอดจนเกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและความรู้กับชุมชนต่าง ๆ ส่วนการวิเคราะห์และประเมินผลความสำเร็จของโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ พบว่า ด้านผลผลิต (Output) มีการใช้งบประมาณได้ตามเป้าหมายของกำหนดเวลา โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และในด้านภาพรวมของการประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcome) ด้านการนำไปใช้ประโยชน์พบว่า ประชาชนได้ประโยชน์จากโครงการทุกโครงการเพราะเป็นโครงการที่มาจากความต้องการของประชาชน การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการดำเนินโครงการ พบว่า โครงการมีการจัดจ้างประชาชนในพื้นที่ในการดำเนินโครงการ ทำให้ประชาชนได้รับความรู้ด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้สร้างความเข้มแข็งให้แก่ ชุมชน ส่วนปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการ พบว่า เงื่อนไขการจำกัด งบประมาณและระยะเวลาที่สั้น ส่งผลให้โครงการมีข้อจำกัด ทำให้โครงการส่วนใหญ่ที่เลือกมา เป็นโครงการเฉพาะหน้าไม่ยั่งยืน และไม่เกิดความคุ้มค่าเท่าที่ควร ดังนั้น ควรพิจารณาแก้ไขข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณและระยะเวลาในการดำเนินโครงการเพื่อให้เกิดความสำเร็จของโครงการ ประชาชนเกิดการเรียนรู้ในการใช้ประโยชน์และดูแลรักษาร่วมกันต่อไปในอนาคต | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ประชารัฐ | |
dc.subject | เศรษฐกิจพอเพียง | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ | |
dc.title | การประเมินความสำเร็จของโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อนขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ กรณีศึกษาอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว | |
dc.title.alternative | Evlution of the success of the villge's potentil upgrde project to drive bsed economy from the guidelines of the civil stte cse study of Wtthn Nkhon District S Keo Province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research attempts to investigate factors contributing to the success of the village’s potential upgrade project, analyze and evaluate the success of the project as well as to acknowledge the problems, obstacles that influenced the success of the project operation, and to suggest the guideline for sustainable project. This qualitative research studies two sub-districts which covered 6 villages. The instruments in this study were interviews and observation. The data were collected, analyzed using interpretation and content analysis. The findings reveal that the key factors to the success of the project were internal factors which included community leaders, participation of the community and the requirement of the community as well as external factors which comprised of state network, information exchange and, protocol to encourage corporation. The findings reveal that, for the establishment of knowledge from the project operation in all projects, people can earn the benefit from the project, the network to exchange knowledge. For the impacts on society, economy and, environment, the locals can reach the success from the social capital. They can establish good relationship in the community. For the maintenance and extension, the products and knowledge of each village can be exchanged. The analysis and evaluation of the success of the village’s potential upgrade project to drive based economy from the guidelines of the civil state indicated that for the output, the budget was used to reach the timeline of the project as well as the needs of the community. For the outcome – the advantage, it was found that people can earn the benefit of all projects since they were the projects from their own requirement. For establishment of the knowledge from the project operation, it was found that local people were hired to operate the project. Also, the people can earn the knowledge. For the social and economy factors, it was found that the people can exchange knowledge and can create income from this. Also, it can strengthen their community. For problem, obstacles affecting the success of the projects’ operation, it was found that the limited condition, budget and time can limit the majority of the project that the unsustainable, notworth-to-invest projects were selected. Therefore, to solve the limitation, the constraints on condition, budget and time should be adjusted for further successful projects in the future | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การจัดการสาธารณะ | |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |