Abstract:
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรที่มีผลต่อสภาพปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังในจังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อศึกษากระบวนการขั้นตอนในการผลิตมันสําปะหลังที่มีผลต่อสภาพปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังในจังหวัดสระแก้ว และ 3) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังในจังหวัดสระแก้ว ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยเก็บข้อมูลจากการการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลัง จํานวน 16 คน ตัวแทนลานรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรจํานวน 2 คน และเจ้าหน้าที่สํานักงานเกษตรจังหวัดผู้รับผิดชอบ งานที่เกี่ยวข้องจํานวน 2 คน รวมทั้งหมด 20 คน ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่เป็นของเกษตรกรเอง มีพื้นที่ตั้งแต่ 30-300 ไร่ ประสบการณ์ในการปลูกมันสําปะหลังตั้งแต่ 6-30 ปี จํานวนแรงงานด้านการเกษตรส่วนมากใช้แรงงาน ตั้งแต่ 5-20 คน ใช้พันธุ์มันสําปะหลัง 81 เป็นส่วนมากเพราะให้ผลผลิตหัวเยอะมากกว่าพันธุ์อื่น การเตรียมพื้นที่มีการไถดะไถแปรก่อนใส่ปุ๋ยรองพื้นเช่นปุ๋ยขี้เป็ด ขี้ไก่หรือปุ๋ยเคมีตากแดด ยกร่องปลูกการเก็บเกี่ยวคือใช้รถไถไถหัวใช้คนงานเก็บขึ้นรถบรรทุกในการขนส่งผลผลิตไปขาย สภาพปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังคือราคาท่อนพันธุ์ที่มีราคาสูงและไม่สะอาดมีเชื้อราติดมากับท่อนพันธุ์ทําให้เกิดโรคระบาดโรคใบไหม้พบแมลงศัตรูพืชคือเพี้ยไฟ และเพี้ยแป้งระบาด ราคามันที่ตกต่ำการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ปัญหาด้านอุทกภัย ภัยแล้ง ปัญหาค่าปุ๋ยค่ายาฆ่าแมลงค่าแรงงาน ด้านการเกษตรที่สูงการส่งเสริมจากภาครัฐไม่ทั่วถึงขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสํานักงานเกษตรและไม่เคยเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานเกษตรเลยขั้นตอนการเพาะปลูกที่หน่วยงานราชการส่งเสริมให้ปลูก มีความยุ่งยาก ทําตามได้ยากจึงทําตามประสบการณ์ที่มีผู้ประกอบการลานรับซื้อนั้นเห็นว่าคุณภาพของผลิตของเกษตรกรยังไม่ได้คุณภาพเมื่อนําไปเปรียบเทียบกับที่อื่น อาจเนื่องมาจากดิน พันธุ์และการใช้ปุ้ย ในส่วนของเจ้าหน้าที่ยังมีไม่เพียงพอต่อภาระหน้าที่งานที่มากเกินกําลัง ต้องรับผิดชอบพืชหลายชนิด และรับขึ้นทะเบียนเกษตรกร