Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวด้วยกิจกรรมทางนํ้ากรณีศึกษาบ้านทุ่งรัก อําเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด 22 คน ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่บ้านทุ่งรัก อําเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ประกอบด้วยมูลนิธิชัยพัฒนา หน่วยงานภาครัฐในจังหวัดพังงาที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและการพัฒนาการท่องเที่ยวในบ้านทุ่งรัก ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่นําเที่ยวในเขตพื้นที่บ้านทุ่งรัก โดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยคําถามปลายเปิด แล้วนํามาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา สังเคราะห์ประเด็นที่มีความเป็นไปได้ในการกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวด้วยกิจกรรมทางนํ้าของบ้านทุ่งรัก อําเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และทําการกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวด้วยกิจกรรมทางนํ้า หลังจากนั้นทําการวิจัยเชิงปริมาณ และทําการวิจัยเชิงปฏิบัติการด้วยการจัดกิจกรรม การท่องเที่ยวทางนํ้าที่บ้านทุ่งรัก แล้วทําการเก็บข้อมูลทางด้านความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยว กิจกรรมทางนํ้าที่บ้านทุ่งรัก โดยแจกแบบสอบถาม จํานวน 409 ชุด แล้วนํามาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การจัดการท่องเที่ยวกิจกรรมทางนํ้าในเขตพื้นที่บ้านทุ่งรัก จะต้องมีการจัดเตรียมบุคลากรของชุมชนให้มีความพร้อมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางนํ้า โดยการฝึกอบรมศึกษาดูงานและการให้ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวให้แก่คนในชุมชน เช่น การเป็นฝีพายที่ดี การเป็นมัคคุเทศก์ที่ดี และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น แหล่งท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่บ้านทุ่งรัก อําเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จะต้องได้รับการปรับปรุงให้มีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวจัดให้มีการบริหาร จัดการทางด้านการท่องเที่ยวแก่กลุ่มท่องเที่ยวของชุมชนให้มีผู้นําด้านการท่องเที่ยวที่ชัดเจน และรูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวด้วยกิจกรรมทางนํ้า ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการ ได้แก่ การวางแผนในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวอย่างมีระบบการจัดองค์กรของชุมชนเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวทางนํ้า การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการท่องเที่ยวซึ่งกันและกัน การควบคุมคุณภาพของการให้บริการการท่องเที่ยวและสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว 2) การบริหารจัดการท่องเที่ยวของชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพื่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว สถานที่พักอาศัย เส้นทางคมนาคม การขนส่ง สถานที่จําหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน การสนับสนุนทางด้านองค์ความรู้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เพื่อนํามาวางแผนและปรับปรุงกิจกรรมการท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยว และ 3) การบริหาร จัดการท่องเที่ยวของหน่วยงานภาครัฐที่มุ่งเน้นการประสานงาน และความร่วมมือของแต่ละหน่วยในทุกระดับ โดยเน้นการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวทางนํ้า และการบริหารงานแบบบูรณาการบริหารจัดการแบบเชิงรุกเพื่อบริการนักท่องเที่ยวได้อย่างมีคุณภาพ