Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสําเร็จที่มีต่อโครงการทํามาค้าขายของโรงเรียนประชารัฐภาคตะวันออกกลุ่มตัวอย่าง เลือกเฉพาะเจาะจงในภาคตะวันออก ด้วยเหตุผลที่ ภาคตะวันออกดําเนินการก่อนภาคอื่น 2 เดือน จึงมีข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างพร้อม โดยใช้ประสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณและการเปรียบเทียบ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง จํานวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ จํานวน 15 ท่าน การวิจัยเชิงปริมาณโดยวิธีการสํารวจประเด็นปัจจัยแห่งความสําเร็จที่มีต่อโครงการทํามาค้าขายของโรงเรียนประชารัฐภาคตะวันออก โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร และครูโรงเรียนประชารัฐ ภาคตะวันออก จํานวน 230 ตัวอย่างใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการวิเคราะห์ทางสถิติความถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 และการวิจัยขั้นที่ 3 ใช้วิธีการเปรียบเทียบ จากงานวิจัยระบบสารสนเทศที่ติดตามความสําเร็จของโรงเรียนประชารัฐ เพื่อเป็นการยืนยันผล ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทําให้เกิดการปฏิบัติตามขั้นตอนการจัดการโครงการทํามาค้าขาย โรงเรียนประชารัฐภาคตะวันออก ได้แก่ 1) ปัจจัยในการบริหารสถานศึกษาที่เป็นพื้นฐาน เรียงตามที่มีอิทธิพลจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านภาวะผู้นําและด้านคุณลักษณะนักเรียน 2) ปัจจัยที่ทําให้เกิดความสามารถในการที่ทําให้นักเรียนแข่งขันกับโรงเรียนอื่น ๆ เรียงตามที่มีอิทธิพล จากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านมีความรู้เรื่องตัวเลข การเงินและบัญชีด้านมีความรู้การบริหารธุรกิจ 3) ปัจจัยที่ทําให้เกิดความยั่งยืนที่ทําให้โครงการทํามาค้าขายเดินหน้าต่อไป (ภายใน 5 ปีหลังจากจบโครงการของ โรงเรียนประชารัฐ) เรียงตามที่มีอิทธิพลจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมด้านสังคมด้านเศรษฐกิจ 4) การดําเนินการ Value chain ในโครงการของโรงเรียนประชารัฐเรียงตามที่มีอิทธิพลจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านโครงสร้างการจัดการ ด้านการบริการหลังการขาย ด้านปัจจัยนําเข้า 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทําให้เกิดความสําเร็จตามเป้าหมายของโครงการทํามาค้าขายของ โรงเรียนประชารัฐภาคตะวันออก ได้แก่ ขั้นตอนการจัดการโครงการทํามาค้าขายโรงเรียนประชารัฐ ภาคตะวันออกเรียงตามที่มีอิทธิพลจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการวางแผน และการออกแบบด้านการประเมินโครงการและการปรับปรุงแก้ไขโครงการ