DSpace Repository

รูปแบบการจัดการสารสนเทศการเกษตรสู่เกษตรกร

Show simple item record

dc.contributor.advisor บรรพต วิรุณราช
dc.contributor.author อรวดี รื่นรมย์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:07:07Z
dc.date.available 2023-06-06T04:07:07Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8628
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวิธีดำเนินการวิจัยแบบประสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการข้อมูลให้เป็นสารสนเทศการเกษตรเพื่อส่งต่อสู่เกษตรกร และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการสารสนเทศการเกษตร พร้อมหาแนวทางการพัฒนา รูปแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อส่งต่อสู่เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการสารสนเทศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 5 คน เพื่อศึกษารูปแบบปัจจุบัน และรูปแบบที่พึงประสงค์ของการพัฒนาข้อมูลให้เป็นสารสนเทศการเกษตร สำหรับการวิจัยเชิงทดลองเพื่อทดสอบการรับสารสนเทศการเกษตร โดยการรวบรวมข้อมูล การเกษตรเป็นรายสัปดาห์จากทุกภาคส่วน นำมาประมวลโดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์สังเคราะห์ให้เป็นสารสนเทศการเกษตร 6 ประการและส่งต่อให้เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบอาชีพเพาะปลูกข้าว 3 ภูมิภาค 3 จังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวสูงสุด จำนวน 120 คน หลังจากนั้นดำเนินการประเมินการนำไปใช้ประโยชน์ซึ่งแบ่งช่วงการประเมิน 3 สัปดาห์ ประเมิน 1 ครั้งรวมระยะเวลาการทดลองรับสารสนเทศการเกษตร 3 เดือน และประเมินการนำไปใช้ประโยชน์รวม 4 ครั้ง สำหรับการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันรูปแบบและการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศการเกษตรที่ได้รับ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คำถามการสัมภาษณ์ คำถามการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินการใช้ประโยชน์การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการสารสนเทศการเกษตรสู่เกษตรกรควรมีการดำเนินการผ่านศูนย์ประมวลข้อมูลการเกษตรที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลการเกษตรเพื่อนำมาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เป็นสารสนเทศการเกษตรก่อนส่งถึงเกษตรกรโดยผลการทดลองนำรูปแบบการจัดการสารสนเทศการเกษตรส่งต่อให้เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบอาชีพเพาะปลูกข้าวพร้อม ดำเนินการประเมินการนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ จากสารสนเทศเทศทั้ง 6 ประการ ได้แก่ 1) สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเพาะปลูก 2) นโยบายภาครัฐ 3) สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจสังคมการเกษตร 4) ต้นทุนการผลิตและราคาสินค้า 5) กระบวนการเพาะปลูกและการเพิ่มมูลค่า ผลผลิตทางการเกษตรและ 6) สารสนเทศที่เกี่ยวกับการสนับสนุนจากสถาบันและองค์การที่เกี่ยวข้องโดยการประเมินทั้ง 4 ครั้งผลประเมินการใช้ประโยชน์มีแนวโน้มที่สูงขึ้น โดยมีการประเมินการนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ได้ระดับมากและมากที่สุด พร้อมทั้งมีการยืนยันรูปแบบการจัดการสารสนเทศการเกษตรโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสารสนเทศการเกษตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา ระบบสื่อสารดิจิทัล และเกษตรกรที่ทดลองรับสารสนเทศการเกษตร โดยแนวทางการพัฒนาเพื่อนำไปใช้สามารถนำรูปแบบการจัดการสารสนเทศการเกษตรเพื่อกำหนดนโยบายในการจัดตั้งศูนย์ประมวลข้อมูลการเกษตรกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
dc.subject สารสนเทศทางการเกษตร
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
dc.subject สารสนเทศ -- การจัดการ
dc.title รูปแบบการจัดการสารสนเทศการเกษตรสู่เกษตรกร
dc.title.alternative Mngement model of giclturl informtion to frmers
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research has a method of conducting research in combination between qualitative research and quantitative research. The objective is to study the Management Model of Agricultural Information to Farmers, and study on the use of agricultural information management, as well as preparing a guideline for the management model of agricultural informal to farmers for benefits usage. For the sampling group, the in-depth interviews are taken with the information management of the Ministry of Agriculture and Cooperatives on 5 people to study the current model, and the desirable form of information development is agricultural information for the experimental research to test agricultural information by collecting agricultural information weekly from all sectors. The samples were processed through 6 synthesis analyzes for agricultural information, and were sent to farmers who had rice cultivation in 3 regions of 3 provinces with high rice cultivation area for the maximum of 120 persons. After that, the evaluation for benefit use was taken, divided into once per 3 weeks, totally the three-month trial period and the benefit usage evaluation was taken for 4 times. For the group conversation to confirm the form and the benefit usage from the received Agricultural Information is applied on 9 people. Research tools include Interview Questions, and Group discussion questions. The evaluation by using SPSS analysis was used to analyze basic statistics. From the research result, it was found that Management Model of Agricultural Information to Farmer should be done through the Agricultural Information Processing Center. The agricultural information is collected through the analysis process and synthesize them into agricultural information before sending them to farmers. The result of the experiment was to apply the model of agricultural information management to the sampling farmer groups who have rice cultivation career, and then evaluate the Information to use for benefits on career from all factors of Information such as 1) The environment that affects crops, 2) government policy, 3) Economic, social and agricultural situation, 4) Cost of production and prices, 5) cultivation and value adding of agricultural products, and 6) information related to support from the institutes and related organizations. From all four evaluations, the information used as benefit was evaluated as a very good level and the best level, and the model of agricultural information management was confirmed by experts in agricultural information management, experts on the development of digital communications, and farmers who experimented with agricultural information. The development guidelines for use can be applied to agricultural information management to set up a policy for the establishment of an agricultural information center with the Ministry of Agriculture and Cooperatives in the future.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การจัดการสาธารณะ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account