DSpace Repository

แนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุชนนี เมธิโยธิน
dc.contributor.author กวิน มุสิกา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:07:06Z
dc.date.available 2023-06-06T04:07:06Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8623
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อหาแนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทยที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับภาวะหนี้สินเกษตรกรไทยในปัจจุบัน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยจะเป็นการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก เกษตรกรที่เคยเป็นหนี้ในอดีตและสามารถฟื้นตัวได้ในปัจจุบัน จำนวน 200 คน ตัวแทนหน่วยงาน ภาครัฐที่ดูแลด้านการเกษตร จำนวน 10 คน และเจ้าหนี้นอกระบบ 5 คน เพื่อหาแนวทางในการบริหารจัดการหนี้สินของเกษตรกรให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บข้อมูล แล้วนำข้อมูลลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาประเด็นที่จะนำไปยืนยันในการสนทนากลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนหน่วยงานที่ดูแลหนี้สินเกษตรกรไทย จำนวน 10 คน แล้วจึงทำการสรุป ผลการวิจัยพร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการต่อไป ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทยที่มีประสิทธิภาพในส่วนภาคเกษตรกร คือ 1) การจัดทำบัญชีครัวเรือน 2) การชำระหนี้ตามกำหนด 3) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และกู้เงินในระบบ และหลีกเลี่ยงการกู้เงินนอกระบบ 4) การปลูกพืชไร่สวนผสมหรือปลูกพืช หลากหลายประเภท 5) การให้ความสำคัญกับคุณภาพผลผลิตและความต้องการของตลาด 6) การสร้างเครือข่ายและรวมกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง และ7) น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ส่วนของภาครัฐ คือ 1) ประกันราคาผลผลิตเกษตรและหาตลาดเพื่อรองรับผลผลิตทางการเกษตรรวมถึงให้ความช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับความ เดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ 2) ให้ความรู้กับเกษตรกรในการปลูกพืชให้เหมาะสมสภาพอากาศ 3) สถาบันเงินทุนภายใต้การกำ กับของรัฐให้ความช่วยเหลือเรื่องการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขยายวงเงินกู้และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ให้มากขึ้น 4) สนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร รวมถึงการพัฒนาฝีมือแรงงานภาคการเกษตร 5) ให้ความช่วยเหลือในด้านการลดต้นทุนการผลิตสินค้าการเกษตรโดยการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐาน เช่น ปุ๋ยยาเมล็ดพันธ์และปัจจัยอื่น ๆ ในการผลิตและการต่อยอดไปสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายออกสู่ตลาด 6) ส่งเสริมให้เกษตรกรสร้างวินัยทางการเงินและให้ความรู้ด้านการจัดทำบัญชีครัวเรือน 7) ให้คำปรึกษาโครงการและปัญหาต่าง ๆ และการบริหารจัดการความเสี่ยงแก่เกษตรกร และ 8) ให้ความรู้ในการจัดการระบบการเงินและการบริหารจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เกษตรกร
dc.subject หนี้สิน (การบัญชี)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
dc.subject วิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก
dc.title แนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทย
dc.title.alternative Thi frmer debt mngement
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this research was to find out the effective and suitable way for Thai farmers' debts management in the current Thai debt situation. Qualitative research model was used for this study. There was review of literature and related research. In-depth interviews were conducted to 10 agricultural representatives, 5 informal creditors and 200 farmers who had been in debt before and currently recovered from debt. The interviews were to find a way to manage the farmers’ debts. In other words, in-depth interview was used to collect data, and then the data were analyzed to find out the issues to be confirmed in the focus group of ten people including speciaists and representatives of agencies responsible for the debt of Thai farmers, and then the research results were symmarized to provide policy, operational recommendations and practices. The findings revealed that the effective management of Thai farmer debt should be as follows: 1. For farmer sector: there should be 1) Household accounting,2) Debt settlement, 3) Access to finance and loans in the system, 4) Cultivation of mixed orchards or planting of various crops, 5) The focus on the quality and market demand. 6) Networking and consolidation of farmers to be strong and sustainable. 7) Introduction to the philosophy of sufficiency economy to apply in the life. 2. For the government, there should be 1) Guarantee of the price of agricultural products and finding markets to support agricultural products, 2) Educating the farmers on the proper seasonable planting, 3) Help from institutions under the supervision of the government to reduce interest rates and to expand the loan and increase access to credit, 4) Support of technology and innovation, research and development of agricultural products, 5) Providingassistance in reducing the agricultural production cost, 6) Encouraging farmers to have financial discipline and educatingthem on how to produce and market their products and how to create household accounts; 7) Consultancy on projects and problems, and risk management for farmers; and 8) providing knowledge on systematic financial and debt management.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การจัดการสาธารณะ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account