dc.contributor.advisor |
อรรัมภา ไวยมุกข์ |
|
dc.contributor.author |
ไกรพล ตระกูลศุภชัย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-06T04:02:26Z |
|
dc.date.available |
2023-06-06T04:02:26Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8609 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
งานนิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดด้วยวิธีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้าตามพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 เพื่อป้องกันการนําสินค้าทุ่มตลาดเข้ามาขายในลักษณะเพื่อการทําลายอุตสาหกรรมภายในประเทศ และทําให้ผู้ผลิตสินค้าประสบปัญหาขาดทุนและล้มเลิกกิจการ ซึ่งส่งผลเสียต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศไทยและยังเป็นการกระทําที่ไม่เป็น ธรรมในทางการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย จากการศึกษาพบว่าเมื่อเกิดการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดแล้วพระราชบัญญัติ การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 ยังไม่มีกฎหมายเพื่อการขยายมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดไปยังสินค้าที่หลีกเลี่ยงการเสียอากรทุ่มตลาดด้วยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้า กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของสินค้าเพียงเล็กน้อยเพื่อให้อัตราศุลกากร เปลี่ยนแปลงไปและนําเข้าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าต่างชนิดกันกับสินค้าที่ต้องเสียอากรทุ่มตลาด แต่ในความเป็นจริงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่มีผลต่อคุณสมบัติของสินค้านั้นและยังนําไปขายในราคาทุ่มตลาดในอุตสาหกรรมเดิม นอกจากนี้ยังพบว่านอกจากการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของสินค้าแล้วยังพบว่า การเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้าเพื่อหลบเลี่ยงอากรทุ่มตลาดยังใช้วิธีการส่งไปยังประเทศอื่นก่อนนําเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากเมื่อประกาศมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดแล้วจะต้องระบุชื่อประเทศต้นทางของสินค้านําเข้าไว้ในบังคับของมาตรการดังกล่าว การเปลี่ยนประเทศต้นทางที่ส่งออกสินค้าจึงทําให้สินค้านั้นไม่อยู่ในขอบเขตของสินค้าที่ต้องเสียอากรทุ่มตลาด ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรปซึ่งได้ประสบปัญหาดังกล่าวและได้บัญญัติกฎหมายเพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดไว้แล้ว ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 โดยเพิ่มบทบัญญัติมาตรา มาตรา 71/2 และมาตรา 71/3 ตามร่าง พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... มาตรา 15 ซึ่งกําหนดให้การกระทําดังกล่าวถือเป็นการกระทําเพื่อเป็นการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและให้ขยายมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเพื่อใช้บังคับแก่กรณีนั้น |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ภาษี |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายมหาชน |
|
dc.subject |
อากร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
|
dc.subject |
อากร |
|
dc.title |
มาตรการทางกฎหมายเพื่อการป้องกันการหลบเลี่ยงการเสียอากรตอบโต้การทุ่มตลาดด้วยวิธีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้า |
|
dc.title.alternative |
Legl mesures for the prevention of the circumvention of nti-dumping duties by chnging trding method |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This Independent study work has studies legal measures to prevent circumvention of anti-dumping measures by changing trading method according to the act of anti-dumping and foreign goods subsidization Act B.E.2542. For the purpose of preventing foreign dumping products that could destroy domestic manufacturers to suffer loss or bankrupt that can create negative impacts on economic stability in Thailand and injustice action in international trade. The study has shown that when there are circumvention actions toward the Act of Anti-Dumping and Foreign Products Subsidization Act B.E.2542, there is no regulated policy that extends the anti-dumping measure to cover products that avoid dumping duty by changing the trading method. In other words, making some changes to product characteristic in order to avoid dumping duties and declare those products differently with no dumping duties. In fact, characteristic and also using in the same industry. Moreover, the study also found that apart from changing product characteristic, the importer also uses a method by sending it to other countries before entering Thailand. When the anti-dumping measures are announced, the name of the export country will be indicated from excluding country for Anti-dumping measures. However, researchers have studied that it also happened in European Union. where legislated to prevent circumvention of anti-dumping measures. Researchers suggested the Anti-Dumping Act and Foreign Products Subsidization Act B.E.2542, by adding Section 71/2 and Section 71/3 of the Anti-dumping Act and Subsidies of Foreign Products (number…) Year…. Section 15, which determine that this action is considered to be a preventive measure against dumping and extend anti-dumping measures to be enforced in that case |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
กฎหมายมหาชน |
|
dc.degree.name |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|