Abstract:
การวิจัยเรื่อง สาเหตุการกระทําผิดของผู้ถูกคุมความประพฤติในคดีอาญา กรณีศึกษา สํานักงานคุมประพฤติจังหวัดชลบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการกระทําผิดของผู้ถูกคุมความประพฤติในคดีอาญา เพื่อเปรียบเทียบสาเหตุการกระทําผิดของผู้ถูกคุมความประพฤติในคดีอาญา โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวมรวบข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 371 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ถูกคุมความประพฤติในคดีอาญาส่วนใหญ่เกินครึ่งเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 89.5 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.2 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 30.7 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทหรือโรงงาน คิดเป็นร้อยละ 37.7 ส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 10,001-15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 32.6 ส่วนใหญ่ เกินครึ่งเป็นโสด คิดเป็นร้อยละ 57.7 ส่วนใหญ่กระทําผิดคดีเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจราจรทางบก คิดเป็นร้อยละ 41.2 ส่วนใหญ่ กระทําความผิดครั้งแรก คิดเป็นร้อยละ 73.9 ส่วนใหญ่บิดามารดาอยู่ด้วยกันคิดเป็นร้อยละ 41.2 ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา คิดเป็นร้อยละ 24.0 ส่วนใหญ่เกินครึ่งได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบไม่เข้มงวดเกินไปแต่ก็ดูแลตลอด คิดเป็นร้อยละ 57.7 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุการกระทําผิด พบว่า เป็นสาเหตุอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.45 เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า สภาพแวดล้อมที่อยู่ในชุมชน ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.55 มากที่สุด รองลงมาคือ การคบหาสมาคมกับเพื่อน ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.46 ทัศนคติต่อการกระทําผิด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.42 และสภาพของครอบครัว ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.38 สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ข้อหาในการกระทําผิด จํานวนครั้งที่กระทําผิด ลักษณะครอบครัว บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วย และลักษณะการเลี้ยงดู อบรมที่ต่างกันมีผลต่อสาเหตุการกระทําผิดของผู้ถูกคุมความประพฤติในคดีอาญาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเป็นไปตามสมมติฐาน ส่วนเพศ อายุ และสถานภาพการสมรสต่างกัน มีสาเหตุกระทําผิดของผู้ถูกคุมความประพฤติในคดีอาญาไม่แตกต่างกันและไม่เป็นไปตามสมมติฐาน