Abstract:
การศึกษาวิจัยความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือการแปลงสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นการวิจัย เอกสาร (Documentary research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการปลอม หรือการแปลงสินทรัพย์ดิจิทัล หลักกฎหมายเกี่ยวกับการปลอมหรือการแปลงสินทรัพย์ดิจิทัล วิเคราะห์เปรียบเทียบปํญญาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการปลอมหรือการแปลงสินทรัพย์ดิจิทัล สรุปและข้อเสนอแนะ จากการศึกษาวิจัยพบว่า บทบัญญัติเกี่ยวกับการปลอมหรือการแปลงสินทรัพย์ดิจิทัล ยังไม่มีกฎหมายครอบคลุมการบัญญัติกระทําความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือการแปลงสินทรัพย์ดิจิทัล พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501 จะได้บัญญัติสถานะเงินตรา มีธนบัตรและเหรียญ และมีการบัญญัติพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561อันเป็นการบัญญัติให้สินทรัพย์ดิจิทัลเทียบเท่ากับเงินตรา แต่การกระทําความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือการแปลงเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลนี้ ยังคงมีเพียงกฎหมายอาญาที่บัญญัติเกี่ยวกับการปลอมและการแปลงเงินตรา เท่านั้น แต่ยังไม่มีกฎหมายใดบัญญัติถึงการปลอมและการแปลงสินทรัพย์ดิจิทัล ผลจากการศึกษาวิจัยจึงมีข้อเสนอแนะ 4 ส่วน 1. การบัญญัติให้การปลอมหรือการแปลง สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นความผิดอาญา โดยบัญญัติให้เป็นเหตุฉกรรจ์ 2. การบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือการแปลงสินทรัพย์ดิจิทัลในพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ได้กําหนดให้เป็นความผิดและมีบทลงโทษที่ชัดเจน 3. การบัญญัติให้ความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือการแปลงสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นบทลงโทษเหตุฉกรรจ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 อันเป็นบทเพิ่มโทษ 4. รัฐควรปรับปรุงกฎหมายให้ รองรับเกี่ยวกับการปลอมหรือการแปลงสินทรัพย์ดิจิทัลให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้กฎหมายต่อสภาพสังคมในปัจจุบัน