Abstract:
จากการศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พบว่า พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 มาตรา 19 กําหนดเงื่อนไขของผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูนอกเหนือจากผู้เสพเพียงอย่างเดียว โดยรวมถึงผู้เสพที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย หรือเสพและจําหน่ายยาเสพติดแม้ว่าจะครอบครองเพียงเล็กน้อยก็ตาม ผู้ศึกษาเห็นว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งหมายจะให้ประโยชน์เฉพาะผู้เสพเท่านั้น จากการศึกษากฎหมายของประสิงคโปร์จะกําหนดเงื่อนไขในส่วนฐานความผิดกฎหมายจะกําหนดไว้ค่อนข้างจํากัด นอกจากนี้มาตรา 33 วรรคแรกก็ไม่ได้บัญญัติส่วนการติดตามดูแลไว้ ทําให้กระบวนการบําบัดรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดขาดหายไปไม่ครบขั้นตอน ผู้เสพที่กลับไปอยู่ในสภาวะแวดล้อมเดิมจึงมีความเสี่ยงที่จะเสพยาเสพติดสูง จะเห็นได้ว่ามาตรการติดตามดูแลเป็นสิ่งสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่ง จากการศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกาได้กําหนดให้ศาลอาจสั่งให้ผู้เข้ารับการบําบัดเข้ารักษาตัวอยู่ในความควบคุมดูแลของผู้อํานวยการโรงพยาบาลในระยะเวลา 3 ปีหลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลแล้วจึงควรกําหนดเกี่ยวกับกระบวนการติดตามดูแลหลังจากผู้บําบัดได้รับการปล่อยตัวต่อไป ข้อเสนอแนะ ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 มาตรา 19 ดังนี้ “ผู้ใดต้องหาว่ากระทําความผิดฐานเสพยาเสพติดเสพและมีไว้ในครอบครองตามลักษณะชนิด ประเภท และปริมาณที่กําหนดในกฎกระทรวง…”และเพิ่มเติม มาตรา 33/1 ดังนี้ “ศาลอาจสั่งให้ผู้ได้รับการปล่อยตัวตามมาตรา 33 อยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าหน้าที่คุมความประพฤติในระยะเวลา 3 ปีหลังจากได้รับการปล่อยตัว”