dc.contributor.advisor |
ภรดี พันธุภากร |
|
dc.contributor.advisor |
เทพศักดิ์ ทองนพคุณ |
|
dc.contributor.author |
รุจน์ ถวัลย์อรรณพ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-06T03:59:39Z |
|
dc.date.available |
2023-06-06T03:59:39Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8568 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562 |
|
dc.description.abstract |
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสร้างสรรค์ประติมากรรมเป็นผลงานสร้างสรรค์ประติมากรรมที่แสดงออกถึงความศรัทธาและคุณค่าของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงพระราชทานให้กับประชาชนคนไทยทุกคน ผลงานชุดนี้ประกอบด้วยผลงานประติมากรรม จำนวน ๔ ชิ้น ที่สื่อความหมายถึงเนื้อหาของทฤษฎีต่าง ๆ ๙ ประการ ประกอบด้วย หลักการบริหารจัดการน้ำ หลักการปรับปรุงคุณภาพดิน หลักการสร้างและทำให้เกิดฝนเทียม หลักการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ หลักการทำบัญชีครัวเรือน หลักการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร หลักการทำไร่นาสวนผสม หลักการทำนาขั้นบันได และหลักการ ทำปศุสัตว์แบบพึ่งพา โดยหลักการทั้ง ๙ ได้นำหลักการมาออกแบบเรียบเรียงตามขั้นตอนการสร้างระบบวิถีชีวิตความพอเพียง นำมาบรรจุในรูปทรงอักษรตัวเลขไทย เพื่อเน้น และบ่งบอกถึงความสำคัญที่โดดเด่นและคุณค่าของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากอักษรตัวเลขไทย เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนชาติไทยที่มีคุณค่าเช่นกัน ทั้งนี้เนื้อหาของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่อยูํในรูปทรงของอักษรตัวเลขไทยนั้น นำมาประกอบอยู่ในโครงสร้างหลักของประติมากรรมซึ่งได้น้อมนำรูปทรงของหยดน้ำ, ต้นไม้ใหญ่และส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนามาใช้ในการสร้างสรรค์ เนื่องจากรูปทรง ดังที่กล่าวมานั้นเป็นรูปทรงที่บ่งบอกถึงคุณค่าทางศิลปะวัฒนธรรมของไทย อีกทั้งมีความหมาย เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่ยุคสมัยแรกของชนชาติไทย เพราะหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการดำเนินชีวิต เช่นเดียวกับพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติซึ่งก็เป็นหลักในการดำเนินชีวิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายถึงความสุขทั้งทางกายภาพและมโนภาพเช่นกัน ผลงานประติมากรรมชุดนี้มุ่งหวังเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง เป็นสุข พัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนอีกทั้ง บ่งบอกถึงคุณค่า และความงามของศิลปะ วัฒนธรรมของไทยอีกด้วย ข้าพเจ้ามีความตั้งใจที่จะนำเสนอผลงานประติมากรรมนี้อย่างสร้างสรรค์เพื่อให้ผู้ที่สนใจเกิดความตระหนักถึงการพัฒนาชาติด้วยการนำเอาวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของไทยมาเป็นมุมมองหนึ่งที่เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยต่อไปเพื่อให้ความเป็นไทยได้ดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์อันโดดเด่นและดีงามที่ต่างชาติต่างให้การยอมรับสืบไป |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ |
|
dc.subject |
ประติมากรรม |
|
dc.title |
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสร้างสรรค์ประติมากรรม |
|
dc.title.alternative |
Sufficient economy philosophy to sculpture |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Sufficient economy philosophy to sculpture invention is the invented set of sculpture conveying faith and worth of sufficient economy philosophy by King Rama IX for all Thai people. This set of sculpture consisted of 4 sculptures conveying 9 contents of different theories including the principle of water management, the principle of soil development, the principle of artificial rain, the principle of organic fertilizer production, the principle of household accounting, the principle of agricultural cooperatives, the principle of mixed farming, the principle of rice terrace farming and the principle of dependable livestock farming. The above 9 principles were applied to design and organize to create sufficient lifestyle as Thai number to emphasize and express the worth of sufficient economy philosophy since Thai numbers are also unique in precious Thai culture. The content of sufficient economy philosophy hidden in Thai numbers could be adopted as components of sculpture structure. The researcher had designed water drop shape, big trees and Buddhism architecture with his invention because these figures expressing artistic value of Thai culture and they could relate Thai lifestyle since the beginning of Thai nationality. In addition, sufficient economy philosophy is considered as precious living principle as Buddhism which is our national religious for all Buddhists to achieve physical and imaginative happiness. This set of sculpture aimed to express sufficient, happy and sustainable lifestyle and they showed the value and aesthetics of Thai arts as well. The researcher was willing to present this set of sculpture creatively so the interested persons will appreciate and aware of country development with precious Thai culture and apply it as the guideline to improve their quality of life so that we could sustain and inherit precious Thai identity and culture later on. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ทัศนศิลป์และการออกแบบ |
|
dc.degree.name |
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|