DSpace Repository

การออกแบบสื่อสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น : เจดีย์ของวัดราชบูรณะพระนครศรีอยุธยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภรดี พันธุภากร
dc.contributor.advisor สันติ เล็กสุขุม
dc.contributor.author เพียงพิศ ชะโกทอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T03:59:30Z
dc.date.available 2023-06-06T03:59:30Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8562
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract ในประเทศไทยมีผู้พิการทางการมองเห็นประมาณ 600,000 คน ที่ควรให้ความสําคัญ ผู้พิการทางการมองเห็นมีความต้องการที่จะได้รับการปฏิบัติตนเทียบเท่ากับคนปกติทั่วไปเมื่อท่องเที่ยวโบราณสถานนอกจากจะทําให้จิตใจ และอารมณ์แจ่มใสแล้วยังทําให้รู้ถึงคุณค่าและความสําคัญของโบราณสถานที่สะท้อนเรื่องราวในอดีตเป็นข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ และศิลปะไทยอันเก่าแก่เป็นความภาคภูมิใจของคนในชาติ การออกแบบสื่อสําหรับผู้พิการทางการมองเห็นจึงมีความสําคัญ สามารถทําให้การรับรู้ของคนพิการทางการมองเห็นมีความเท่าเทียมกับคนปกติ ทั้งทางด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาโบราณสถานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา เพื่อนําไปใช้ในการออกแบบเจดีย์ทรงต่าง ๆ เพื่อผู้พิการทางการมองเห็นได้สัมผัสรับรู้ เพื่อออกแบบสื่อสําหรับผู้พิการทางการมองเห็นกระตุ้นให้ผู้พิการทางการมองเห็นเกิดจินตภาพทางประวัติศาสตร์ และโบราณสถานในรูปแบบของเจดีย์ทรงต่าง ๆ ของวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา ประเมินผลสําเร็จในการออกแบบสื่อ สําหรับผู้พิการทางการมองเห็น และสําหรับเป็นต้นแบบ และแนวทางในการพัฒนาสื่อ เพื่อความเข้าใจโบราณสถานของผู้พิการทางสายตาใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมและการวิจัยเชิงทดลองผสมผสานเข้าด้วยกัน การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางการมองเห็นมีส่วนร่วม และทดลองการรับรู้ และจินตภาพตามความต้องการของผู้พิการทางการมองเห็นนําข้อมูลรวมรวบเพื่อใช้ในการออกแบบสื่อ และนําสื่อไปใช้ทดลองกับผู้พิการทางการมองเห็นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้พิการทางการมองเห็น ตาบอดแต่กําเนิด และผู้พิการทางการมองเห็นไม่ได้ตาบอดแต่กําเนิด การออกแบบสื่อสําหรับผู้พิการทางการมองเห็น: เจดีย์ของวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา มีเจดีย์ทั้งหมด 4 แบบ คือ ปรางค์ประธาน เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม เจดีย์ทรงปราสาทยอด เจดีย์ทรงระฆัง ผลการศึกษาพบว่าขนาดของสื่อไม่มีผลต่อการสัมผัสของผู้พิการทางการมองเห็น และการบรรยาย ลักษณะของเจดีย์ควรอ้างอิงกับรูปทรงเรขาคณิตจะสามารถทําให้ผู้พิการทางการมองเห็นจินตภาพได้ การออกแบบสื่อแบ่งออกเป็น 2ระดับ ระดับที่ 1 ลดทอนรายละเอียดเพื่อให้ผู้พิการทางการมองเห็น สามารถรับรู้รูปทรงเจดีย์ ระดับที่ 2 เพิ่มรายละเอียดให้เสมือนจริงเพื่อให้ผู้พิการทางการมองเห็นสามารถรับรู้ส่วนต่าง ๆ ของเจดีย์ผู้พิการทางการมองเห็นสามารถเข้าใจสื่อและคุณค่าทางศิลปะและมีความตระหนักภาคภูมิใจในความเป็นไทย และมีจินตภาพในความคิดการทดสอบความเข้าใจของผู้พิการ ทางการมองเห็นหลังจากออกแบบเป็นที่พึงพอใจในระดับดี และได้ประสิทธิผลตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject วัดราชบูรณะ
dc.subject ศิลปะไทย
dc.subject คนพิการทางสายตา
dc.title การออกแบบสื่อสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น : เจดีย์ของวัดราชบูรณะพระนครศรีอยุธยา
dc.title.alternative The design for the visully impired: chedi of wt rtburn, yutthy
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative In Thailand, approximately 600,000 people are an impaired vision group who should be a priority, while touring the historical monuments; these people need to be treated as normal people. Historic tourism results in not only making clear their minds, but also appreciating the value and importance of the historical places that reflect on the past and present the information of former time, together with Thailand time-honored art that is the pride of the nation. However, the design of medias for the visually impaired group is an importance in that it can provide the perception including both the knowledge, skills and attitude of the visually impaired peopleas much as the regular ones. The research aims to(1) study of a historicplace, Wat Ratburana, Ayutthaya, Thailand, leading to classify the diversity of chedi shapes, (2) design the medias for assistance to the impaired vision people with the experience of recognition, together with activation and creation of historical imagery as well as archaeological place in case study of Wat Ratburana, (3) evaluateof the success of visual media designed for the visually impaired people groups, and then (4) create the prototype for the methodto further develop the designed medias, for understanding in the archaeological sites of the visually impaired people. Based on participatory research, the visually impaired people had been provided an opportunity for being participates and testing perspective and imagery needed for visually impaired ones. The collecting information of media designed was tested its utilization by the two visually impaired groups referring to the people who were blind from birth and who become blind after on. As descriptions of the chedi 's characteristics based on geometric shapes that would enable the visually impaired people to create their perspective and imagery, the result showed that medias presented all four shape-types of Wat Ratburanachedies, including principle prang, octagonal-shape chedi, bell-shape chedi and chedi topped with spire. The design was divided into two levels, the 1st level was reductive imitation of some details to easily recognize the chedi shapes and the 2nd level was realistic imitation to recognize more different details of chedies. The visually impaired people could understand medias and value of Thai art, aware and proud of being Thai, together with have imaginary of Thai art. Comprehension test after designing was high satisfaction level and the effectiveness corresponded to the research hypothesis.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account