DSpace Repository

การศึกษาอัตลักษณ์เครื่องประดับกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อการออกแบบร่วมสมัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรินทร์ อินทะยศ
dc.contributor.advisor เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
dc.contributor.author ศมลพรรณ ภู่เล็ก
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T03:59:27Z
dc.date.available 2023-06-06T03:59:27Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8561
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ลักษณะความเป็นอัตลักษณ์เครื่องประดับอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่าและกัมพูชา สร้างสรรค์เครื่องประดับจากแนวความคิดอัตลักษณ์เครื่องประดับจากกลุ่มประเทศอาเซียน และประเมินและสร้างต้นแบบอัตลักษณ์ เครื่องประดับจากกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคชาวไทยและต่างชาติ จากงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ครั้งที่ 59 ระหว่างวันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบเครื่องประดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความพึงพอใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบเครื่องประดับ และแบบประเมิน คู่มือองค์ความรู้เครื่องประดับกลุ่มประเทศอาเซียนและแบบร่าง ผลการวิจัยพบว่า (1) จากประชากรและกลุ่มตัวอย่างจํานวน 407 ชิ้น จากหนังสือ The Jewelry of Southeast Asia และ ASIAN JEWELLERY เมื่อนํามาวิเคราะห์ โดยแยกประเภทของเครื่องประดับ ปรากฏว่า เครื่องประดับที่นํามาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฏีฐานนิยม ได้แก่ กําไลข้อมือ สร้อยคอ และต่างหู และแสดงค่า 3 อันดับแรก ประเภทของเครื่องประดับกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งสามารถแบ่งตามกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ประเทศกัมพูชา เครื่องประดับจํานวน 43 ชิ้น ประเภท เครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ กําไลข้อมือ ต่างหู และสร้อยคอ ประเทศพม่า เครื่องประดับ จํานวน 37 ชิ้น ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ สร้อยคอ ต่างหู และกําไลข้อมือ ประเทศ สปป.ลาว เครื่องประดับจํานวน 34 ชิ้น ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ กําไลข้อมือ สร้อยคอ และต่างหู ประเทศเวียดนาม เครื่องประดับจํานวน 31 ชิ้น ประเภท เครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ ต่างหู กําไลข้อมือ และสร้อยคอ ประเทศไทย เครื่องประดับ จํานวน 41 ชิ้น ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ ต่างหู กําไลข้อมือ และสร้อยคอ ประเทศอินโดนีเซีย เครื่องประดับจํานวน 113 ชิ้น ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ ต่างหู กําไลข้อมือ และสร้อยคอ ประเทศมาเลเซีย เครื่องประดับจํานวน 32 ชิ้น ประเภท เครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ ต่างหู สร้อยคอ และกําไลข้อมือ ประเทศฟิลิปปินส์ เครื่องประดับจํานวน 33 ชิ้น ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ สร้อยคอ ต่างหู และกําไลข้อมือ ประเทศสิงคโปร์ เครื่องประดับจํานวน 22 ชิ้น ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ สร้อยคอ ต่างหู และกําไลข้อมือและประเทศบรูไน เครื่องประดับจํานวน 19 ชิ้น ประเภท เครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ สร้อยคอ ต่างหู และกําไลข้อมือ (2) วัสดุที่ถูกค้นพบในช่วงศตวรรษที่ 10-20 มากที่สุด คือ ทอง เงิน พลอย หยก และทับทิม เทคนิคที่ใช้ในช่วงศตวรรษที่ปรากฏ คือ การฝังหุ้ม การหล่อแบบขี้ผึ้ง การลงยาสี ได้แก่ การลงยาสีแดง (3) ลวดลายที่ค้นพบจาก กลุ่มประชากรและตัวอย่าง กลุ่มลวดลายที่มีความซ้ำเหมือนกันมากที่สุด เป็นอันดับที่ 1 คือ กลุ่มดอกไม้ ได้แก่ ดอกพิกุล ดอกบัว ดอกกูด ดอกไม้ประจําท้องถิ่น ดอกโบตั๋น ใบไม้และผลองุ่น เป็นอันดับที่ 2 คือ กลุ่มลายก้นหอย ได้แก่ ลายขดก้นหอย และลายเกลียว อันดับที่ 3 คือ กลุ่มสัตว์ในตํานาน ได้แก่ นกแห่งไฟ นกยูง พญานาค มะกะระ กินรี อันดับที่ 4 กลุ่มสัญลักษณ์ ได้แก่ พระจัทร์เสี้ยว ดาว ดวงอาทิตย์ ตัวอักษรฮินดู และรูปทรงไม้กางเขน ฯลฯ (4) สังเคราะห์ข้อมูล องค์ความรู้จากการศึกษาอัตลักษณ์เครื่องประดับกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย เป็นผลงานสร้างสรรค์เครื่องประดับ 10 ชุด (5) สร้างสรรค์เครื่องประดับจาก แนวความคิดอัตลักษณ์เครื่องประดับจากกลุ่มประเทศอาเซียนการออกแบบเครื่องประดับกลุ่มประเทศอาเซียน มีผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมด 10 ชุด ได้แก่ ผลงานการออกแบบเครื่องประดับ อัตลักษณ์ประเทศกัมพูชา อัตลักษณ์ประเทศพม่า อัตลักษณ์ประเทศสปป.ลาว อัตลักษณ์ ประเทศเวียดนาม อัตลักษณ์ประเทศไทย อัตลักษณ์อินโดนีเซีย อัตลักษณ์มาเลเซีย อัตลักษณ์บรูไน อัตลักษณ์สิงคโปร์ และอัตลักษณ์ฟิลิปปินส์
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เครื่องประดับ
dc.subject การตกแต่งและการประดับ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.subject เครื่องประดับ -- การออกแบบ
dc.subject อัตลักษณ์
dc.title การศึกษาอัตลักษณ์เครื่องประดับกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อการออกแบบร่วมสมัย
dc.title.alternative Asen community identity of contemporry design jewellry
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aims to: (1) analyze and synthesize the jewelry identities of jewelry in 10 ASEAN countries including Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore, Thailand, Brunei Darussalam, Vietnam, Laos, Burma and Cambodia; (2) create Jewelry from the concept of jewelry identity from ASEAN countries; and (3) assess and create jewelry identities from ASEAN countries. The research sample groups were Thai and foreign consumers at the 59th Jewelry and Ornaments Exhibition, February 22-26, 2016, and professional jewelry designers. There are three research tools that were the interview, customer satisfaction questionnaire in designing jewelry prototype and knowledge guide assessment of jewelry in ASEAN country and draft. The research findings are as follows: 1. The result shows that the analytical study and synthetic the identities of jewelry in 10 ASEAN countries including Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore, Thailand, Brunei Darussalam, Vietnam, Laos, Burma and Cambodia found 407pieces of the population and sample groups from the Jewelry of Southeast Asia book and ASIAN JEWELLERY book. The classification of jewelry is found that the analyzed jewelry with the mode theory includes bracelets, earrings and necklaces and the first three identities types of jewelry ASEAN countries. There are divided into groups as follows: • The first three identities of 43 Cambodian jewelries are bracelets, earrings and necklaces respectively. • The first three identities of 37 Myanmar jewelries are necklaces, earrings and bracelets respectively. ช • The first three identities of 34 Laotian jewelries are bracelets, necklaces and earrings respectively. • The first three identities of 31 Vietnamese jewelries are earrings, bracelets and necklaces respectively. • The first three identities of 41 Thai jewelries are earrings, bracelets and necklaces respectively. • The first three identities of 113Indonesian jewelries are earrings, bracelets and necklaces respectively. • The first three identities of 32 Malaysian jewelries are earrings, bracelets and necklaces respectively. • The first three identities of 33Philippine jewelries are necklaces, earrings and bracelets respectively. • The first three identities of 22Singapore jewelries are necklaces, earrings and bracelets respectively. • The first three identities of 19 Brunei jewelries are necklaces, earrings and bracelets respectively. 2. The most common materials that are discovered during the 10th -20th centuries include gold, silver, jade and ruby. The techniques that used during the century were Bezel Setting, Lost Wax Casting, and Red Enamel. 3. Patterns are discovered from the population and samples. The most common motif is the floral motif such as Bullet wood, Lotus, Gourd, Local flowers, Peonies, Leaves and Grape. The second common is the spiral motif such as spiral and coil. The third common is the legendary creature such as Bird of Fire, Peacock, serpent, Makara and Kinnaree. The fourth common is the symbol such as Crescent Moon, Star, Sun, Hindu script, and the cross etc. 4. This research is a synthesis of knowledge data from the study of jewelry identities of ASEAN countries and creates 10pieces of creative jewelry from the research knowledge. 5. The Jewelry is created from the concept of jewelry identity from jewelry design in ASEAN countries. There are 10 creative Jewelry Design works include Cambodia Identity, Burmese identity, Lao PDR Identity, Vietnam Identity, Thai Identity, Indonesian identity, Malaysian identity, Brunei Identity, Singapore Identity and Filipino identity
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account