DSpace Repository

ลักษณะเฉพาะของวงปี่จุม : ช่างปี่ ช่างซอ และสล่าปี่เมืองลำพูน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนะรัชต์ อนุกูล
dc.contributor.advisor มนัส แก้วบูชา
dc.contributor.author นิตยา อุตระธานี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T03:54:02Z
dc.date.available 2023-06-06T03:54:02Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8550
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องลักษณะเฉพาะวงปี่จุม ช่างปี่ ช่างซอและสล่าปี่เมืองลําพูน มีวัตถุประสงค์สําคัญ คือ เพื่อศึกษาภูมิสังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวเมืองลําพูน ศึกษาลักษณะเฉพาะของวงปี่จุมและบริบททางวัฒนธรรมดนตรีของพื้นที่ศึกษา และเพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและระบบเสียงปี่จุมของสล่าปี่ โดยการวิจัยครั้งนี้ได้สํารวจบันทึก จําแนก วิเคราะห์จากวงปี่จุม คณะร่วมมิตรสามัคคี ตําบลดงดํา อําเภอลี้ และคณะลูกแม่ลี้สามัคคี ตําบลทุ่งข้าวหาง อําเภอทุ่งหัวช้าง ซึ่งนําระเบียบวิธีดําเนินการวิจัย คือ หลักการบริหารมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ หลักการจัดการความรู้ หลักการวิเคราะห์ของแท้และดั้งเดิม หลักการพิจารณาคุณค่า และคุณลักษณะทางวัฒนธรรม ตลอดจนหลักการดนตรีชาติพันธุ์มาประยุกต์ใช้กับการวิจัย ผลการวิจัยภูมิสังคมและวัฒนธรรมการดนตรีเมืองลําพูนพบว่า เมืองลําพูนเป็นเมืองเก่า ยุคทวารวดี มีเมืองหริภุญไชยเป็นราชธานีซึ่งปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีด้วยเมืองนี้มีกลุ่มคน และดนตรีหลากหลาย ผู้วิจัยจึงสํารวจวิจัยวงปี่จุมคณะร่วมมิตรสามัคคีและคณะลูกแม่ลี้สามัคคี พบว่าทั้งสองคณะมีเพลงที่เป็นของแท้และดั้งเดิมคือ (1) เพลงตั้งเชียงใหม่ มี 10 ท่อน พร้อมคําร้องที่มีเนื้อหาเป็นบทเพลงโหมโรง (2) เพลงจะปุ มี 2 ท่อน พร้อมคําร้องเป็นนิทาน เล่าเรื่อง สอนใจ (3) เพลงละหม้าย มี 2 ท่อน พร้อมคําร้องเป็นนิทานและเรื่องเล่าที่ครึกครื้นสนุกสนาน (4) เพลงอื่อ มีท่อนเดียว คําร้องเป็นบทอําลา เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบเพลงได้บันทึกโน้ตไทย ประกอบด้วยปี่ 3 เล่ม คือ ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่เล็ก และซึง โดยไม่มีกลองเมืองกํากับจังหวะ เพลงชุดนี้ขับซอโดย แม่บัวซอน ถนอมบุญ ส่วนปี่จุมประดิษฐ์โดยสล่า คือ พ่ออุ้ยสมฤทธิ์ เป็งดอย ซึ่งมีเชิงช่าง สัดส่วนและแนวการตั้งเสียงเก่าแก่ คือ ปี่ ก้อยมีฐานเสียงความถี่ที่ 392.1-359.1 เฮิรตซ์ของพิสัยซอล-ซอลสูง ปรากฏระยะชิดที่ 1-2 และ 6-7 ส่วนปี่กลางมีฐานเสียงความถี่ที่ 231.3-356.9 เฮิรตซ์ของพิสัยโด -โดสูง ปรากฏระยะชิดที่ 4-5 และปี่เล็กมีฐานเสียงความถี่ที่ 539.5-963.4 เฮิรตซ์ของพิสัยโด-โดต่ำ ซึ่งปรากฎระยะชิดที่ 1-2 ตามลําดับ ผลการค้นพบนี้คือลักษณะเฉพาะของวงปี่จุมเมืองลําพูน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ปี่
dc.subject เครื่องดนตรีไทย
dc.subject ปี่ -- การผลิต
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.title ลักษณะเฉพาะของวงปี่จุม : ช่างปี่ ช่างซอ และสล่าปี่เมืองลำพูน
dc.title.alternative Chrcteristic of pee jum ensemble: musicin, voclist nd music mde in lumphun province,ช่างปี่ ช่างซอ และสล่าปี่เมืองลำพูน
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The important purpose of the characteristic ofPee Jum ensemble: musician, vocalist and music made in Lumphun province had śobjects: as ř) to study the socio-cultural background and lifestyle of people in LumphunprovinceŚ) to study the characteristics ofPee Jum ensemble and their music in cultural contexts ś) to analyze the physical scale, tacit intellectual and tuning system of the instruments. This research was carried out to survey, recording, classifieds, and analyzing the data from the Ruammit Samakkee band, Dong-Dam sub-district, Li district, and Look Mae Li Samakkee band, Thung Kaw Hang sub-district, Thung Hua Chang district. The research methodology was applied from these principles and conceptual frameworks which were Heritage Quality Management, Knowledge Management Authenticity and Rarity Values, Cultural Significances Values and Principle in Ethnomusicology. The study indicated that Lumphun is an ancient city of the Dvaravati period, and the capital is Haripunchai from archaeological evidence. According to the diversity of people and music, researcher was interested to investigate Both Pee Jum ensemble and Look Mae Li Samakkee band. The research found that both bandshad the authenticity and rarity in vernacular music form as following:ř) řŘ melodic section with welcome lyrics of Tang Chiangmai prelude song Ś) Ś melodic section with tale and narrative lyrics of Japu ethic teaching song ś) Ś melodic section with funny tale and narrative story lyrics of Lamai entertaining song and Ŝ) a melodic section with farewell lyric of Auh lullabying song. The instruments of Pee Jum ensemble consisted Pee Klang, Pee Koi, Pee Lek, Seung in which non-rhythmic pattern and Mae Buasorn Tanormwong was a pioneer vocalist, although transcription into Thai Notation scores.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account