DSpace Repository

การออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์จากการผสมผสานลวดลายงานศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนาไทยกับทิเบต

Show simple item record

dc.contributor.advisor บุญชู บุญลิขิตศิริ
dc.contributor.advisor ภานุ สรวยสุวรรณ
dc.contributor.author ฮี, เฉา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.contributor.other He, Zhao
dc.date.accessioned 2023-06-06T03:49:35Z
dc.date.available 2023-06-06T03:49:35Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8536
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของลายกระหนก และลายเมี่ยวเหลียนเพื่อค้นหาความหมายของรูปแบบและเอกลักษณ์ภายนอกที่มีร่วมกันและใช้เป็นแนวทางในการออกแบบลวดลายใหม่ตามสไตล์การออกแบบของผู้วิจัยที่เกิดจากการผสมผสาน เอกลักษณ์ข้ามวัฒนธรรมไทยจีนตามมิติของศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนาและนำลวดลายดังกล่าว ไปประยุกต์ใช้บนผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาพบว่าลายกระหนกและลายเมี่ยวเหลียนเป็นลวดลายทางพระพุทธศาสนาที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับพลังอำนาจและความสำเร็จ ตลอดจนถือเป็นลวดลายประดับที่สวยงาม เมื่อดำเนินการวิเคราะห์เอกลักษณ์ภายนอก พบว่าลายกระหนกมีลักษณะปรากฏเป็นภาพคล้ายกับการเจริญเติบโตของต้นไม้และลายเมี่ยวเหลียนคือภาพสมบูรณ์ของดอกบัว ดังนั้น ลวดลายทั้งสองนี้ จึงเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของธรรมชาติที่มักนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการตกแต่งศิลปะทางพระพุทธศาสนา เมื่อผู้วิจัยค้นพบความหมายของรูปแบบและเอกลักษณ์ภายนอกที่มีร่วมกันแล้วได้ ดำเนินการออกแบบแบบร่างไว้ทั้งสิ้น 7 แบบร่างและเมื่อนำแบบร่างทั้งหมดไปสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบทั้งในประเทศไทยและจีน พบว่าลวดลายทั้งหมดสามารถสื่อความหมายและเป็นตัวแทนของลวดลายที่มีเอกลักษณ์จากการผสมผสานข้ามวัฒนธรรม ทั้งนี้ เมื่อผู้วิจัยนำแบบร่างลวดลายไปดำเนินการออกแบบผลิตภัณฑ์พบว่าลวดลายที่ออกแบบใหม่ตามสไตล์ของผู้วิจัยนี้ไม่เพียงแต่สามารถใช้กับการแกะสลักเครื่องหนังได้เท่านั้น ยังสามารถ ประยุกต์ใช้บนผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น เสื้อผ้า บรรจุภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน หน้าเว็บไซต์ และของใช้ในชีวิตประจำวันได้อันจะส่งผลให้เกิดการบริโภคงานศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนามากขึ้นจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้แก่ ผู้สนใจนำไปประกอบเป็นอาชีพ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์สืบสานและสืบทอดมรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาอันดีงามของสองชาตินี้ให้แก่คนรุ่นหลังต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ลวดในศิลปกรรม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject พุทธศาสนากับศิลปกรรม
dc.title การออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์จากการผสมผสานลวดลายงานศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนาไทยกับทิเบต
dc.title.alternative The product ptterns design combines from thilnd nd tibetn buddhist rts
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study the Thai gold lines and the China Tibetan Buddhist lotus pattern on the meaning of the common, and shape characteristic to be a guideline for ideas and inspiration of new decorative pattern design to acquire a combination of Thai – Chinese Buddhist art characteristics and applying the decorative pattern to the product. The result found that Thai gold and Tibetan Buddhist lotus pattern are symbol of power and success. Analysis also revealed that the design characteristics of gold grain is similar to the growth of trees, and Tibetan Buddhist lotus pattern is the shape of a lotus flower. Therefore, these two kinds of design tobe regarded as a national symbol represents, areoften used in the art of Buddhism decoration. The researcher started making seven drafts design after found the meaning of design style and external mutual consistency; then taking all drafts to Thai and Chinese bilateral experts opinions. The results indicated that all design can express meaning, and can be as a representative of the consistency across Chinese and Thai culture pattern. As a result, the researcher used these patterns for production and not only used for carving leather but also used in many products such as clothing, home decor items, the adornment of the website, and daily necessities. The advantage of this study is to promote the Buddhist art consumption that become a part of people's daily life, to increase the income of industry practitioners interested groups, and ultimately promote both China and Thailand successors of Buddhist culture heritage protection and propagation.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account