DSpace Repository

แบบจำลองการนำเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอ่างศิลา

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุชาติ เถาทอง
dc.contributor.advisor ทิพย์เกสร บุญอำไพ
dc.contributor.author โกวิทย์ ทะลิ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T03:49:29Z
dc.date.available 2023-06-06T03:49:29Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8530
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องแบบจําลองการนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีต ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอ่างศิลามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจําลอง การนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลสําหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบนพื้นที่อนุรักษ์ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอ่างศิลาและทดสอบและรับรองแบบจําลอง การนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตให้เกิดการรับรู้และการเรียนรู้ที่เหมาะสม สําหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในบริบทใหม่ ขอบเขตของการวิจัยด้านพื้นที่ ผู้วิจัยเลือกพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราช (พิพิธภัณฑ์ประจําท้องถิ่นอ่างศิลา) ตําบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยมีแนวคิดพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็นแหล่งรับรู้และเรียนรู้ตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีต โดยศึกษาปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อการนําเสนอสาระของพิพิธภัณฑ์บนพื้นที่ อนุรักษ์ ศึกษาหลักการวางโครงเรื่องโดยชุมชนมีส่วนร่วมและทดสอบแบบจําลอง ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวคิดปัจจุบันสู่อดีตสามารถสร้างกระบวนการนําเสนอสาระ พิพิธภัณฑ์สู่แบบจําลอง Kowit Model เพื่อให้เกิดการรับรู้และการเรียนรู้สําหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบนพื้นที่อนุรักษ์ในปัจจุบันของศตวรรษที่ 21 มีด้วยกัน 3 มิติ มิติแรกคือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับการเชื่อมโยงความรู้ของอดีต การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนําเสนอสาระบนพื้นที่อนุรักษ์จะต้องคํานึงถึงหลัก 2 ประการ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต้องแสดงให้เห็นสาระความเป็นของแท้ดั้งเดิม เป็นส่วนพื้นฐานในการเข้าถึงลักษณะเนื้อหาต่าง ๆ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต้องสร้างความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างความสมบูรณ์ไม่ขัดแย้งจนไปทําลายคุณค่าของพื้นที่อนุรักษ์หรือโบราณสถาน มิติที่ 2 สื่อการเรียนรู้หรือสื่อจัดแสดงในการออกแบบสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ การจัดนิทรรศการและการนําเสนอคุณภาพของข้อมูล ออกแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล และการหลอมรวมสื่อดิจิทัล และการกําหนดช่องทางการสื่อสาร มิติที่ 3 ด้านรูปแบบการรับและการเรียนรู้ต้องมีการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมจึงจะจูงใจผู้ชมได้ (2) ทดสอบและรับรองหาประสิทธิภาพแบบจําลองการนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตให้เกิดการรับรู้และการเรียนรู้ที่เหมาะสมสําหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในบริบทใหม่ผู้วิจัยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แบบประเมินความพึงพอใจสําหรับผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะทาง 4 ท่าน โดยแบบจําลองการนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์จากปัจจุบันสู่ อดีตมีความเป็นไปได้ (ค่าเฉลี่ย 4.50) การเพิ่มประสิทธิภาพในการนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นได้อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.75) รองลงมาคือการประยุกต์ใช้แบบจําลองมีความหลากหลายและปรับให้เข้ากับบริบทของชุมชนได้อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.50) และแบบประเมินความพึงพอใจสําหรับกลุ่มตัวอย่างนักเรียน นักศึกษา แบบจําลอง การนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์จากปัจจุบันสู่อดีตมีความเป็นไปได้ (ค่าเฉลี่ย 4.59) อยู่ในระดับมากที่สุด การจัดนิทรรศการส่งเสริมการเรียนรู้อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.80) รองลงมาคือสามารถเข้าใจเนื้อหาและเกิดการรับรู้และการเรียนรู้อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.70) กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวแบบจําลองการนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์จากปัจจุบันสู่อดีต มีความเป็นไปได้ (ค่าเฉลี่ย 4.38) อยู่ในระดับมาก ประเด็นการจัดนิทรรศการส่งเสริมการเรียนรู้อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.63) รองลงมาคือ ข้อมูลแสดงถึงคุณภาพและความเหมาะสมของเนื้อหา เนื้อหาส่งเสริมจิตนาการและสร้างแรงบันดาลใจได้และความพึงพอใจภาพรวมของการนําเสนอเนื้อหาอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.50) และการทดสอบและรับรองแบบจําลองการนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ของกลุ่มหน่วยงานรัฐบาลและส่วนงานราชการ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง สํานักงานเทศบาลเมืองอ่างศิลา ได้นําผลงานวิจัยมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยได้ใช้คู่มือฯ เป็นแนวทางการจัดนิทรรศการและการตกแต่งห้องต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ตําบลอ่างศิลา อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ที่เทศบาลดูแลอยู่ ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับปรุง เตรียมการดําเนินการตามหนังสือเลขที่ ชบ 54502/2062 สํานักงานเทศบาลเมืองอ่างศิลา ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject พิพิธภัณฑ์ชุมชน -- การบริหาร
dc.subject พิพิธภัณฑ์ชุมชน
dc.title แบบจำลองการนำเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอ่างศิลา
dc.title.alternative A digitl locl museum content presenttion model bsing on present-to-pst concepts through digitl technology: cse study of ngsil locl museum
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research study “A digital local museum content presentation model basing on present-to-past concepts through digital technology: A case study of Angsila Local Museum” is aiming 1) to develop a model presented the content of the museum from the present to the past through digital technology for local museum on a conservative area, which is in a case study go Ang Sila Local Museum; and 2) to examine and certify the model presented museum content from the present to the past, which creates the perception and learning that is appropriate for the local museum in a new context. For the study area scope, the researcher selected the Museum in Honour of H.M the King's 72nd Birthday Anniversary (Local Cultural Museum in Ang Sila District) in Ang Sila District, Chonburi Province. The researcher developed the concept of local museums as a source of perception and learning based on the concept of the present to the past by studying factors including digital technologies that affect the museum's presentation on the conservation area; study on the principles of setting up the storyline with the community engagement and model testing. The results of the research show that (1) the present to the past concept can create a museum presentation process into the Kowit Model to provide awareness and learning of the local museum on the conservation area in the 21st century, which consists of 3 dimensions as following; 1) The first dimension is that local museums relate to the knowledge of the past. The use of digital technology to present content on conservation areas must take into account of these two main points. The use of digital technology must demonstrate genuine authenticity. It is the basic ซ part of accessing various content styles. The use of digital technology must blend in with the environment to create perfection. This will not conflict and undermine the value of the conservation area or historic site. Second dimension is that learning media or display media in digital technology media design should consists of 3 parts. Exhibition and presentation of information quality, digital platform design, the fusion of digital media, and the third dimension of reception and learning has to be responsive to the environment, so it can attract audiences. (2)Examine and certify to find performance of model on museum presentations based on the idea of the present to the past. Provide appropriate awareness and learning for local museums in the new context. The researcher used the satisfaction evaluation form. It is divided into 2 parts. The satisfaction assessment form for 4 specific experts. The model presenting museum content from the present to the past is possible with the average of 4.50. The efficiency of the presentation of local museums was at the most appropriate level with the average of 4.75. The application of the model was varied and adapted to the context of the community at the most appropriate level with the average of 4.50. The satisfaction assessment form for students The model presenting museum content from the present to the past is possible with the average of 4.59at the highest level. The efficiency of the presentation of local museums was at the most appropriate level with the average of 4.80. The content and perception and learning were at the most appropriate level with the average of 4.70. The sample from tourists on the model of presentation of museum from the present to the past is possible at a high level of 4.38. The efficiency of the presentation of local museums was at the most appropriate level with the average of 4.63. The data represents the quality and appropriateness of the content. Content promotes creativity and inspiration, and overall satisfaction of content presentation is at the most reasonable level with the average of 4.50. There is a testing and certification of models presenting local museums based on the idea of the present to the past through digital technology from the government agencies which is the ArgSila Municipal office as they are directly responsible on the area. They have brought research results to benefit local development. The manual has been used as a guideline for exhibitions and decorations, as well as for the development of the 72nd Anniversary Museum in Ang Sila District, Muang District, Chonburi Province, which is under preparation, according to the letter No. 54502/2062, Ang Sila Municipal Office dated 14 November 2016.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account