dc.contributor.advisor | เทพศักดิ์ ทองนพคุณ | |
dc.contributor.advisor | ภรดี พันธุภากร | |
dc.contributor.author | กนิษฐา พวงศรี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T03:49:18Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T03:49:18Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8522 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยผีล้านนา อํานาจไร้รูปสู่รูปลักษณ์ในงานทัศนศิลป์ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปลักษณ์ของผีล้านนาสําหรับบันทึกองค์ความรู้เป็นข้อมูลภาพ วิเคราะห์ข้อมูลและสังเคราะห์สู่รูปภาพที่แสดงถึงรูปลักษณ์ของผีล้านนาเพื่อสืบสานวัฒนธรรมผีล้านนาไม่ให้เลือนหายไปจากสังคมและนําไปสู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ รูปลักษณ์ผีล้านนา ผลการวิจัยพบว่า รูปลักษณ์ผีล้านนานําไปสู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ มีหลักการในการสร้างจินตภาพสมมติ คํานึงถึงด้านเนื้อหา ประกอบไปด้วย ทางด้านกายภาพ สามารถสรุปทางกายภาพของผีล้านนาได้ 3 รูปลักษณ์ คือ รูปลักษณ์มนุษย์ ได้แก่ ผีประเภทที่ 1 ผีที่มีลักษณะเป็นตัวแทนอํานาจของธรรมชาติผีประเภทที่ 2 ผีที่ให้ความคุ้มครองแก่มนุษย์ และผีประเภทที่ 3 ผีที่ให้ความคุ้มครองแก่สถานที่ทางกายภาพจะสื่อในรูปแบบมนุษย์ชาย หญิงล้านนา รูปลักษณ์อุปกรณ์ ได้แก่ ผีประเภทที่ 4 ผีที่ช่วยเหลือมนุษย์ในการรักษาพยาบาลและการพยากรณ์ โดยจะสื่อถึงผีในรูปแบบของใช้ล้านนา และรูปลักษณ์ผิดมนุษย์ ได้แก่ ผีประเภทที่ 5 ผีร้าย หรือผีที่ให้โทษแก่มนุษย์ เป็นการผสมผสานระหว่างรูปลักษณ์มนุษย์ร่วมกับสัตว์ ส่วนผีประเภทที่ 6 ผีที่เป็นการละเล่นเป็นการผสมผสานรูปลักษณ์ระหว่างมนุษย์กับอุปกรณ์ เพราะเป็นผีที่สิงอยู่ในตัวผู้เล่นการละเล่นเป็นกิจกรรมที่สร้างความสามัคคีทางด้านบริบทของผีล้านนา คือ คุ้มครอง ปกป้อง เคารพบูชา เสี่ยงทาย ทํานายอันตราย ตักเตือน และสนุกสนาน สามัคคี ด้านสัญลักษณ์ สามารถระบุได้ 4 ประเด็นคือ ความเชื่อ ประเพณี การเคารพบรรพบุรุษ และกุศโลบายแฝง เพื่อสร้างสรรค์งานศิลปกรรมให้เกิดจินตภาพสมมติ ปัจจัยสําคัญในการสื่อถึงสัญลักษณ์ คือ พิธีกรรม ได้แก่ อุปกรณ์ประดับฉากเครื่องเซ่นไหว้หอผี และปะรําพิธี สามารถแสดงถึงอํานาจไร้รูป โดยใช้เทคนิคการสร้างบรรยากาศจริงจากสิ่งที่สัมผัสได้สู่สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยบรรยากาศของพิธีกรรม ปะรําพิธี เครื่องเซ่นไหว้ ภาพพระบฏ ภาพลักษณ์ในรูปธรรมผ่านสื่อภาษาของศิลปะ โดยการใช้ทัศนะธาตุ เช่น เส้น สี น้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นที่ว่าง เพื่อสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบภาพลายเส้นทั้งหมด 45 ภาพ จากผีทั้งหมด 42 ตัว โดยบางตัว มี 2 ภาพ เนื่องจากบางตัวมีทั้งชาย และหญิง บางตัวมีทั้งแบบสาว และแบบแก่ รูปภาพทั้ง 45 นี้สามารถนําไปใช้ในการศึกษาต่อยอด เพื่อสืบสานวัฒนธรรมผีล้านนาไม่ให้เลือนหายไปจากสังคมได้ และเกิดความเข้าใจเรื่องผีล้านนาในเชิงรูปธรรมแก่บุคคลอื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยผีล้านนาจะนําไปสู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะทั้ง 3 ชุด ได้แก่ ผลงานชุดปั๊บสาผีล้านนาผีโขนลําปาง และผู้เสียสละในพิธีกรรมเลี้ยงดง เป็นการสร้างสรรค์จากจินตนาการที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการศึกษาวิจัยเรื่องผีล้านนา อํานาจไร้รูปสู่รูปลักษณ์ในงานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของผู้วิจัยใช้วัสดุเทคนิคต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณค่าของผลงานในการถ่ายทอดจินตนาการที่เปลี่ยนมุมมอง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้วิจัย สร้างสรรค์เป็นผลงานทัศนศิลป์ นอกจากนี้องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยยังสามารถเป็นฐานข้อมูลในการนําไปต่อยอดงานวิจัยต่อไป | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ทัศนศิลป์ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.title | ผีล้านนา อำนาจไร้รูปสู่รูปลักษณ์ในงานทัศนศิลป์ | |
dc.title.alternative | The power of invisible lnn’s spirit being trnslted into visul rts imge | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of The research on The Power of Invisible Lanna’s Spirit being Translated into Visual Art were 1) Searching for appearances of the spirits of Lanna as visual image documentation 2) Analyzinginformation and synthesizinginto images that represent the appearance of the spirits of Lana in order to maintain the culture of spirits of Lanna and to avoid disappearing from society. 3) Leading towards inspiration for visual art creation under the works entitled Phi Lanna or Spirits of Lanna. The results of research show the images of the spirits of Lanna inspire the creativity in visual arts. The principles of visual imaginaries are concerned with contents in which physical aspects are focused. The summary of the physical appearance of the spirits of Lanna can be summarized in 3 kinds of appearances. The Spirits seen in human forms can be categorized as follows (1)Spirits that represent the power of nature (2)Spirits that give protection to human being (3)Spirits that give protection to properties, appearing in the forms of Lanna men and women(4) Spirits that help people in medical treatment and prophesy, appearing in the forms of Lanna’s household utensils (5) Spirits that look different from human. They are harmful to mankind and they appear in the forms of human combining with animal. 6. Spirits of playful activities appear in the form of human combining with forms of devices. Such spirits exorcize the players and control them to perform an activity that would bring solidarity to people in the community. The contextsof the spirits of Lanna generally refer to protection, worship, prediction, danger, warning, joy and harmony. ช The symbolic aspects of spirits of Lanna consist of 4 subjects namely faith, tradition, ancestor worship and hidden strategies for creating imageries in the work of art. The important factors in explaining symbols are ritual ceremonies which include accessories for the back drop of the work, things for offerings, spirit house and ceremonial marquee that represent the invisible power. The using of techniques to create the real atmosphere could lead to something that cannot be seen because of the ritual atmosphere, ceremonial marquee and Buddha's banner. Consequently, visual images are created by the manipulation of art elements such as line, color, form, chiaroscuro and space in creating 45 drawing images from 42 spirits of Lanna. Some spirits are presented with 2 images because they are both male and female; some are young and some are aged. These 45 images can be used as documentation for further studies and for keeping the spirits of Lanna being disappearedfrom society as well as reinforcingunderstanding the spirits of Lanna to other people more easily. Knowledge gained from the research of Spirits of Lanna enables inspiration tocreate 3 series of art works comprising of Pub Sa Phi Lanna, Phi Khone Lampang and people who sacrificed in Liang Dong the ritual ceremony. The creation of these series derived from imagination that was inspired by the research of the spirits of Lanna, the transformation of invisible power to visible forms in the visual arts. The researcher expresses mood and feeling by using different materials and techniques to increase the value of imaginative expression which changes the researcher’s aspects and feeling towards artistic creation. In addition, the knowledge gained from this research will be a valuable data base for further research in the future. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |