dc.contributor.advisor | พิชัย สดภิบาล | |
dc.contributor.advisor | เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง | |
dc.contributor.author | สุจิตรา อยู่หนู | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T03:44:57Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T03:44:57Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8510 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐาน สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ กลุ่มภาษาและชาติพันธุ์ สังคมและวัฒนธรรมในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ส่งผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรม เรือนพักอาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ สืบค้นสถาปัตยกรรมเรือนพักอาศัยดั้งเดิมในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ เพื่อทําการศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรมบ้านเรือนพื้นถิ่นที่ปรากฏ และเสนอแนวทางในการสืบสานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทเรือนพักอาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการศึกษาสถาปัตยกรรมในพื้นที่ 9 อําเภอ ได้แก่ อําเภอเมือง อําเภอลับแล อําเภอท่าปลา อําเภอตรอน อําเภอทองแสนขัน อําเภอพิชัย อําเภอฟากท่า อําเภอบ้านโคก และอําเภอน้ำปาด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูล ภาคสนามและแบบประเมินความคิดเห็นองค์ความรู้ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ กลุ่มภาษาและชาติพันธุ์ สังคมและวัฒนธรรมในจังหวัดอุตรดิตถ์ส่งผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนพักอาศัย ซึ่งเรือนพักอาศัยที่พบในเขตพื้นที่อําเภอเมือง อําเภอลับแล อําเภอตรอน อําเภอพิชัย และอําเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แฝงไว้ด้วยภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวิถีการดําเนินชีวิตในแต่ละพื้นที่ และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเรือนพักอาศัยแบบเรือนพื้นถิ่นลับแล กลุ่มเรือนชนบท กลุ่มเรือนพ่อค้าคหบดี ข้าราชการ หรือ เรือนผู้มีฐานะ กลุ่มเรือนแถวหรือเรือนตึกแถวและกลุ่มเรือนสมัยใหม่และมีแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น โดยการส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการอนุรักษ์ หรือเก็บรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นไว้ การให้ความรู้แก่ประชาชนในท้องถิ่นเข้าใจและเห็นความสําคัญของเรือนพื้นถิ่นของตนเอง และให้ความรู้เรื่องของการอนุรักษ์หรือดูแลเรือนพื้นถิ่นอย่างถูกวิธี ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ฝีมือช่างแบบดั้งเดิมให้มีการศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไว้เป็นระยะ ๆ และเสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้รูปแบบเรือนพักอาศัยในอดีตให้เหมาะสมกับปัจจุบัน ที่เรียกว่า การออกแบบร่วมสมัยคือ (1) การประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ทางด้านรูปแบบทางสถาปัตยกรรม อัตลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ โดยการรักษารูปแบบเดิมของเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นดั้งเดิม โดยอาจมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงรูปแบบและวิธีการไปบ้าง แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์เดิมไว้ หรือประยุกต์ใช้เพียงรูปแบบบางส่วน (2) การประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ทางด้านภูมิปัญญาที่สรรสร้างจากคนรุ่นเก่าให้เข้ากับยุคสมัย ในปัจจุบัน อัตลักษณ์ที่เป็นนามธรรม ซึ่งอาจรับรู้ได้จากการเข้าอยู่อาศัย ภูมิปัญญาในการจัดผังพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้พักอาศัย ภูมิปัญญาในการเลือกใช้วัสดุ โครงสร้าง และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ภูมิปัญญาในการระบายอากาศ และถ่ายเทความร้อนโดยธรรมชาติและการนําแสงธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ให้เปิดความสว่างในตัวเรือน ผลของการประเมินความคิดเห็นของหนังสือองค์ความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนพักอาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อการออกแบบร่วมสมัย ด้านรูปแบบเรือนพักอาศัยที่ค้นพบมีความน่าสนใจและมีประโยชน์ ด้านการจัดกลุ่มเรือนพักอาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์มีความเหมาะสม ด้านแนวทางในการสืบสานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทเรือนพักอาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีความเหมาะสมด้านแนวทางในการประยุกต์ใช้รูปแบบเรือนพักอาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านตัวอย่างการประยุกต์เรือนพักอาศัยพื้นถิ่นมีความเหมาะสม และด้านเนื้อหาโดยรวมมีความเหมาะสม เข้าใจได้ง่าย และมีประโยชน์สรุปผลการประเมินความคิดเห็นของหนังสือ องค์ความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนพักอาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อการออกแบบร่วมสมัย โดยรวม ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิมีค่าเท่ากับ 4.50 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน อยู่ที่ 0.58 จัดว่ามีความเหมาะสมมาก | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.subject | สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น -- ไทย (ภาคเหนือ) | |
dc.title | สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทเรือนพักอาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อการออกแบบร่วมสมัย | |
dc.title.alternative | Vernculr house rchitecturl in uttrdit province for contemporry design | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research were: (1) to learn about the basic factors of geography, history, language and ethnics groups, including society and culture in UttaraditProvince that were affected to the residential architecture in UttaraditProvince, (2) to retrieve the original residential architecture of the original residential architecture in Uttaradit Provinceso as to study and analyze the forms of residential architecture in the area., and (3) to propose the way to preserve the local architecture of residential architectures in Uttaradit Provinceby studying the architecture in 9 districts; Amphoe Mueang, Amphoe Lablae, Amphoe Tha Pla, Amphoe Tron, Amphoe Thong Saen Khan, Amphoe Pichai, Amphoe Faktha, Amphoe Ban Khok and Amphoe Nam Pad. The tools used in this research were interview and evaluation form. The results of the research were as follows. The geography, history, language and ethnic groups, society and culture conditions, in Uttaradit were affected to the residential architectures in Amphoe Mueang, Laplae, Tron, Pichai and Thong Saen Khan at Uttaradit to become unique. They contained the creative wisdom that was consistent with the environment and way of life in each area. The changes over the past 100years could be divided into five groups: 1) Residential houses in Lablae folk houses, 2) Rural House Groups, 3) Merchants' bureaucrats’, barbarians houses, 4) tenement houses and 5) modern houses. Moreover, there were some ways to preserve and develop local architectures by encouraging the concerned agencies to preserve or maintain the architectural style of a residential house. Educating the local people was to understand and appreciate the importance of their own home, and to provide the knowledge about the conservation or care of the local habitat properly. These included encouraging traditional craftsman conservation, providing the periodic study and research on the local architecture, and proposing ways to apply the style of a residence in the past to suit the current so- ช called the contemporary design as: 1) the application of identity in the architectural style and, 2) The application of the intellectual identity created from the older generation to the present era, so the residents might perceive the abstract identity. The evaluation of the knowledge book “Vernacular Architecture at Uttaradit for the Overall Contemporary Design” was as follows. The house’s style was interesting and useful. The resident house group in Uttaradit was suitable. The way to preserve the local architecture of the habitat type in Uttaradit was proper. The guidelines for the application of housing patterns in Uttaradit and the overall content were appropriate, easy to understand and useful. For the conclusion for the evaluation of the knowledge book “Vernacular Architecture at Uttaradit for the Overall Contemporary Design”, the average score of the panel of judges of 4.50, and the standard deviation of 0.58 were very appropriate. In summary, the study of residential architecture in Uttaradit for contemporary design was valuable and useful for further study in the future. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |