DSpace Repository

แนวทางการพัฒนาโรงเรียนนโยบายพิเศษในจังหวัดชลบุรี : กรณีศึกษาเฉพาะโรงเรียนสอนภาษาจีน

Show simple item record

dc.contributor.author สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:46Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:46Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/81
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องนี้ เพื่อการศึกษาแนวทางการพัฒนาโรงเรียนนโยบายพิเศษในจังหวัดชลบุรี กรณีศึกษาเฉพาะโรงเรียนสอนภาษาจีนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ปัญหา ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการศึกษา การบริหารการศึกษาและการเรียนการสอนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การวางแนวทางเพื่อพัฒนาโรงเรียนในอนาคต วิธีการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์จากเอกสารเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา ปัญหา และการแก้ปัญหาของโรงเรียนจีนที่ผ่านมา การวิจัยภาคสนามเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การบริหารการศึกษา สภาพปัญหา และการแก้ปัญหาของโรงเรียนตัวอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้ จากการสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน และการวิจัยทางชาติพันธุ์วรรณาเชิงอนาคต เป็นการศึกษาทรรศนะของผู้เชี่ยวชาญทางการวางแผน การกำหนดนโยบายและการบริหารการศึกษา จำนวน 36 ท่าน ด้วยการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับแนวโน้มและทิศทางการพัฒนาโรงเรียนจีนในอนาคต ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. จากประวัติศาสตร์ ชาวจีนอพยพมาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและมีจำนวนมากขึ้น ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนบุตรหลานของตนเป็นภาษาจีนและสอนเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศจีนทั้งหมด ใช้หลักสูตร แบบเรียน และครูผู้สอนที่มาจากประเทศจีน ดำเนินการสอนเรื่อยมาจนกระทั่งเกิดปัญหาในช่วงปลายรัชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดการปฎิวัติขึ้นในประเทศจีนเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐ โรงเรียนจีนในเมืองไทยกลายเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดลัทธิการเมืองและแนวคิดในการปฏิวัติ ชาวจีนจำนวนมากได้ก่อความไม่สงบขึ้นเพื่อขอสนับสนุนให้ช่วยเหลือคณะปฏิวัติ กระทบถึงการเมือง และความมั่นคงของประเทศไทยอย่างมาก เพราะลัทธิการปกครองแตกต่างกัน ผู้บริหารประเทศไทยตั้งแต่รัชการลที่ 6 เป็นต้นมา ได้ดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาอันเกิดจากการเมืองเรื่องนี้ด้วยการออกพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ กำหนดจำนวนโรงเรียนจีนและครูชาวจีนให้อยู่ในจำนวนที่พอเหมาะกับการควบคุมดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ปรับหลักสูตรให้เรียนเป็นภาษาไทยตามระเบียบและเรียนภาษาจีนได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมงเป็นวิชาเลือก เปิดสอนได้เพียงระดับประถมศึกษาเท่านั้น ทำให้โรงเรียนจีนหลายแห่งปิดกิจการไปและความนิยมจากชาวจีนรุ่นใหม่ลดน้อยลงไปตามลำดับ 2. จากสภาพการณ์ปัจจุบัน ชาวไทยกับชาวจีนมีการผสมผสานกันทางวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตจนแทบไม่มีความแตกต่างและไม่นำไปสู่ความขัดแย้งเหมือนในอดีต ชาวจีนหรือชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรียังมีอยู่เป็นจำนวนมาก มีโรงเรียนจีนที่เปิดทำการสอนอยู่ 5 แห่ง สอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งปัจจุบันอนุญาตให้สอนภาษาจีนเป็นวิชาเลือกในกลุ่มประสบการณ์พิเศษ สอนได้สัปดาห์ละ 10 ชั่วโมง รัฐบาลผ่อนคลายกฎระเบียบหลายประการเพื่อสนับสนุนให้เอกชนลงทุนด้านการศึกษา โรงเรียนตัวอย่างที่ไปศึกษาได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับอนุนาบได้ สอนพร้อมกัน 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ จ้างครูเจ้าของภาษาเป็นผู้สอนโดยตรง แนวทางพัฒนาโรงเรียนของผู้บริหารคือจะขยายการสอนเปิดถึงชั้นมัธยมศึกษา จะจัดตั้งเป็นศูนย์ภาษาต่างประเทศเปิดสอนบุคคลทั่วไปนอกเวลาทำการ ปรับปรุงสถานศึกษาเพื่อให้มีมาตรฐานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และเข้าสู่การประเมินคุณภาพสถานศึกษา จัดสวัสดิการเพิ่มเติมให้แก่ครูนอกเหนือจากที่รัฐกำหนด ส่งเสริมให้ครูไปอบรมสมนา ศึกษาต่อเพิ่มพูนคุณวุฒิและพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เป็นโรงเรียนพหุภาษา 3. จากทรรศนะของผู้เชี่ยวชาญให้แนวทางการพัฒนโรงเรียนว่า ภาษาจีนมีความสำคัญใช้กันมากในวงการธุรกิจ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ไทยกับจีนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันแล้วและจีนมีนโยบายเปิดประเทศมากขี้น โอกาสทางการค้า การลงทุนและการศึกษาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับไทยจะมีมากขึ้นด้วย ผู้รู้ภาษาจีนจะได้เปรียบด้านการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในอนาคต โรงเรียนจีนควรพัฒนาการสอนภาษาให้ผู้เรียนได้ทักษะการพูด การฟัง อย่างเป็นธรรมชาติ มีโอกาสฝึกภาษาและใช้ภาษาจริงกับเจ้าของภาษา เพิ่มเติมประสบการณ์ให้ผู้เรียนและผู้สอนด้วยการไปดูงานหรือทัศนศึกษาที่ประเทศจีน รวมทั้งเพิ่มการผลิตครูคนไทยที่สอนภาษาจีนได้ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการถ่ายทอดลัทธิการเมืองอย่างที่เราเคยมีมาและร่วมมือกับจีนเพื่อทำวิจัยค้นคว้าความรู้ใหม่แขนงต่าง ๆ ของไทยและจีนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น th_TH
dc.description.sponsorship คณะศึกษาศาสตร์ สนับสนุนทุนการวิจัยจากเงินรายได้ประจำปีงบประมาณ 2541 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject โรงเรียนสอนภาษาจีน th_TH
dc.subject โรงเรียน -- การบริหาร th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title แนวทางการพัฒนาโรงเรียนนโยบายพิเศษในจังหวัดชลบุรี : กรณีศึกษาเฉพาะโรงเรียนสอนภาษาจีน th_TH
dc.title.alternative Development approach of the special policy 's school in Chonburi province : A case study of the Chinese school en
dc.type Research
dc.author.email kosajyaw@buu.ac.th
dc.year 2543
dc.description.abstractalternative This research aimed to study the development of a special policy 's school in Chonburi, a case study of th Chineses school concerning historical background, problems outcomes of the schooling, and the educational administration from the past to the present in order to provide information for planning in the future. The methodology involved documentary analysis for school evolution,problems and problem solving of school in the past. The author used a historical approach on the educational management,problems and problem solving of school. The indepth interview with school administrators,teachers,student, school activity participation and observation was also used. An ethnographic future research approach was used to study the opinions of 36 external experts in planning and educational administration field. Questionnair and interview were used in order to study the opinions on trend and direction of Chinese School development in the future. The research findings were as follow : 1. According to the historical evidences concerning Chinese and Chinese School evolution, they indicated that Chinese have migrated to Thailand since Ayudhya period. When the number of the population increased there was a need for schooling for their children to study Chinese. Teachers and textbooks were form the mainland China. The schooling went on until the late period of King Rama V. when there was revolution in Mainland China, Chinese Schools in Thailand were then used as a bridge for transferring political and revolution believe. Chinese in Thailand at that time have caused an up rising in supporting the revolution. This seriously affected the stability of the Thai government at that time. Thai government since King Rama VI has tried to correct and prevent this political conflict by introducing a private school act. Limited the number of Chinese Schools in order to be able to completely by the Ministry of Education. The Chinese School Curriculum was forced to teach in Thai. Chinese language was allowed to teach only 5 hours a week as an elective subject. The Chinese School can offer Chinese language course not higher than grade 4. This pressure has resulted in the close down of many Chinese Schools. The popularity of Chinese school gradually diminished. 2.For the present situation,Thais and Chineses have mixed in cultures and lifestyle. Chineses and Thais were not be easily identified. With this good brend,there was no conflict as it was in the former time. There are still a lot of Chinese or Chinese-Thai in Chonburi.There are 5 Chinese School operating in the province using the curriculum of the Ministry of Education. Chinese language are allowed to be taught 10 hours per week as a special experience subject. The Thai government has relaxed the rules to promote private sectors to invest in education. The school that the author studied was allowed to teach from preschool level using 3 en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account