Abstract:
การมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภข์องสามีวัยรุ่น ส่งผลดีต่อสุขภาพของทั้งหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์การวิจัยเชิงพยากรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติต่อการตั้งครรภ์การรับรู้ความสามารถในการดูแลหญิงตั้งครรภ์การสนับ สนุนจากครอบครัวและความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่ร่วมกัน มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ของสามีวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือสามีวัยรุ่นของหญิงตั้งครรภ์ฝากครร์ ณ โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 85 ราย คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกและแบบสอบถาม แบบบันทึกคือแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อการตั้งครรภ์การรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลหญิงตั้งครรภ์การสนับสนุนจากครอบครัวการมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ แบบสอบถาม 4 ชุดแรกมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .83, .92, .80 และ .85 ตามลำดับ ส่วนแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ได้ค่าความเชื่อมั่น Kuder Richardson-20 (KR-20) เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติต่อการตั้งครรภ์การรับรู้ความสามารถในการดูแลหญิงตั้งครรภ์การสนับสนุนจากครอบครัวและความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ร่วมกัน ทำ นายการมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ของสามีวัยรุ่นร้อยละ 42.4 (R 2 = .424, F4, 80= 14.70, p< .001) ซึ่งการรับรู้ความสามารถในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ของสามีวัยรุ่นและร่วมกันทำนายการมีส่วนร่วมได้ร้อยละ 42.1 (R 2 = .421, F2, 82= 29.77, p< .001) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมมากที่สุดคือการรับรู้ความสามารถในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ (β = .62, p< .001) พยาบาลผดุงครรภ์ควรส่งเสริมให้สามีวัยรุ่นของหญิงตั้งครรภ์มีการรับรู้ความสามารถในการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยให้ความรู้แก่สามีวัยรุ่นเกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์และการเตรียมพร้อมในการเป็นพ่อแม่ เป็นต้น เมื่อพาภรรยามาฝากครรภ์