DSpace Repository

ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
dc.contributor.advisor นฤมล ธีระรังสิกุล
dc.contributor.author มณีพร ภิญโญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:54:28Z
dc.date.available 2023-05-12T06:54:28Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8094
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 25621
dc.description.abstract โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องมีการดูแลตนเองต่อเนื่องอย่างเหมาะสม การเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กป่วยมีการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยเรียน โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชลบุรีระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 34 รายแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 17 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติกลุ่มทดลองได้รับทั้งการดูแลปกติและได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจที่พัฒนาจากแนวคิดของ Gibson (1995) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การค้นพบสถานการณ์จริง 2) การสะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) การตัดสินใจเลือกการปฏิบัติที่เหมาะสม และ 4) ความคงไว้ซึ่งการปฏิบัติ เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นของครอนบาคแอลฟาเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา independent t-test และ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง (t 16 = 7.785, p < .001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t 17.64 = 7.30, p< .001) จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลควรประยุกต์ใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลงอำนาจไปใช้ในเด็กวัยเรียนที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เพื่อให้เด็กมีการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองนำไปสู่การดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
dc.subject มะเร็งเม็ดเลือดขาว
dc.subject มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก -- การดูแล
dc.title ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
dc.title.alternative Effect of empowerment progrm on perceived self-efficcy in self-cre of school-ge children with leukemi undergoing chemotherpy
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Leukemia is a chronic disease that needs continuity of appropriate self-care. Empowering children with leukemia to increase their perceived self-efficacy in self-care is essential. This study was quasi-experimental research having two groups with pretest-posttest design. Study aimed to examine effect of empowerment program on perceived self-efficacy in self-care of school-age children with leukemia undergoing chemotherapy. Participants included 34 children with leukemia who received chemotherapy at a pediatric ward, Chonburi hospital from May to July, 2018. They were assigned to either experimental (n=17) or control group (n=17). Control group had routine care. Experimental group had both routine care and empowerment program based on Gibson’s empowerment concepts (1995). It consisted of four steps; 1) discovering situational reality, 2) critical thinking reflection, 3) making a decision to select appropriate behavior, and 4) maintaining that behavior. Data were collected by the questionnaire of perceived self-efficacy in self-care for school-age children with leukemia undergoing chemotherapy, which had Cronbach’s alpha value as .88. Data were analyzed by descriptive statistics, independent t-test and paired t-test. Study results revealed that after experiment, experimental group had higher mean scores of perceived self-efficacy in self-care than before experiment (t 16 = 7.785, p < .001) and than control group (t 17.64 = 7.30, p< .001) significantly. Findings suggest that nurses would apply this empowerment program to school-age children with leukemia in order to promote their perceived self-efficacy in self-care. This would lead them to have appropriate self-care behavior.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลเด็ก
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account