Abstract:
การวิจัยครั้งเป็น วิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากชาวบ้านจำนวน 11 คน และทำการสนทนากลุ่ม 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้นำหมู่บ้านโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
1) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีต่อ ฮีต- คอง
2) การอธิบาย ฮีต- คองในบริบทใหม่ของสังคมและปัจจุบันและ 3) ความเป็นไปได้ในการนำฮีต – คอง มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคม
ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนให้คุรค่าความหมายของ ฮีต-คองผ่านการสามัคคีในชุมชุนความอบอุ่นในครอบครัว และความเป็นระเบียบในชุใชน โดยชุมชนเชื่อว่าฮีต - คองสามารถดำรงอยู่ได้เนื่องจากคนในชุมชนมีความเชื่อในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติสือต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ(ฮีตเก่าม คลองหลัง) และการปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนไปของสังคม ส่วนการเปลี่ยนแปลงไปของฮีต – คอง คนในชุมชนเชื่อว่ามรสาเหตุมาจากการไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม การขาดผู้นำในการสือสาน การรับเอาวัฒนาธรรมต่างถิ่นมาเผบแพร่ และบทบาทของสมาชิกในครอบครัวเปลี่ยนไป ทั้งนี้เนื่องจากวิถีชีวิตของคนในชุมชนได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงฮีต – คอง ต่อวิถีชีวิตในชุมชน ชาวบ้านเห็นว่าความมีน้ำใจไมตรีของคนในชุมชนลดลง สัมพันธนาการของสมาชิกในครอบครัวเปลี่ยนไป และการเคารพนับถือกันน้อยลง
ยุทธศาสตร์ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูฮีต – คอง กลุ่มผู้นำหมู่บ้านแนะนำว่า ควรจะมีบุคคลที่เป็นตัวขับเคลื่อนการอนุรักษ์ฟื้นฟู ฮีต – คอง และสร้างกลยุทธที่ใช้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ฮีต- คอง
ข้อเสอนแนะในการประยุกค์ผลการวิจัย ระดับบุคคล – ทุกคนในหมู่บ้านจะต้องณุ้และเข้าใจทั้ง 4 หมวดหมู่หลัก ได้แก่ 1) คุณค่า ความหมายของ ฮีต-คอง 2)การดำรงอยู่ของ ฮีต-คองท 3)สาเหตุที่ทำให้ฮีต – คอง เปลี่ยนแปลง และ 4)ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ฮีต-คอง ต่อวิถีชีวิตคนในชุมชนก่อนที่จะให้คนมาร่วมกันทำยุทธศาสตร์ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ฮีต-คอง ระดับผู้นำชุมชน ผู้นำควรนำแผนยุทธศาสตร์ไปนำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงขึ้น เพื่อของบประมาณสำหรับอนุรักษ์ฟื้นฟู ฮีต-คอง ในชุมชน ส่วนระดับประเทศ ควรให้การสนับสนุนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ฟื้นฟู ฮีต-คอง นำสนอจุดเด่นของชุมชนเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวหรือผู้สนใจ มาท่องเที่ยวหรือศึกาหาความรู้ ซึ่งเป็นการสร้างงานเพื่อชุมชน