DSpace Repository

การพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะการรู้เรื่องการอ่านตามแนวจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์
dc.contributor.advisor มณเทียร ชมดอกไม้
dc.contributor.author พัชนี บุญรัศมี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:43:40Z
dc.date.available 2023-05-12T06:43:40Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8025
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมทักษะการรู้ เรื่อง การอ่านตามแนวจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 7 คน ที่กำลังศึกษาในระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 โรงเรียนสอนดี (ประชารัฐอนุสรณ์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการรู้เรื่องการอ่าน แบบสังเกตพฤติกรรม การเรียน แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ได้หลักสูตรเสริมทักษะการรู้เรื่องการอ่านตามแนวจิตตปัญญาศึกษาสำหรับเด็กที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพหลักสูตรในระดับดี มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 3.93 2. ผลการใช้หลักสูตรเสริมทักษะการรู้เรื่องการอ่าน พบดังนี้ 2.1 คะแนนเฉลี่ยทักษะการรู้เรื่องการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 หลังการเรียนตามหลักสูตรเสริมทักษะการรู้เรื่องการอ่านตามแนวจิตตปัญญาศึกษาแล้ว ปรากฏว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทุกคนมีทักษะการรู้เรื่องการอ่าน ที่ดีขึ้น มีสมาธิในการเรียนมากขึ้นและสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ได้ดีขึ้น 2.3 หลังการเรียนตามหลักสูตรเสริมทักษะการรู้เรื่องการอ่านตามแนวจิตตปัญญาศึกษาแล้ว ปรากฏว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทุกคนชอบกิจกรรมที่นำมาใช้ในกระบวนจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การทำสมาธิ การระบายสี การฟังเสียงสัญญาณระฆัง และการทำงาน เป็นกลุ่ม และนักเรียนชอบเนื้อหาสารคดีเรื่องฝนหลวงมากที่สุดและไม่ชอบข่าวเรื่องเรือล่มที่อยุธยามากที่สุด
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การศึกษา -- หลักสูตร
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.subject การวางแผนหลักสูตร -- วิจัย
dc.subject ความบกพร่องทางการเรียนรู้
dc.title การพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะการรู้เรื่องการอ่านตามแนวจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
dc.title.alternative Curriculum development of enhncing reding litercy skill through contempltive eduction for students with lerning disbilities
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of the research are to develop and study curriculum implementation to enhance reading literacy skill with the contemplative education for learning disability students. The samples were 7 students with learning disability from Prathomsuksa 4 and 5 with mean total of 3.93. At Sorndee (Phacharat Anusorn) School in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. They were purposively selected. The research tools were lesson plans, reading literacy skill test, behavior observation form and satisfaction interview questions performed. The statistics used for data anlysis were mean, standard deviation, and t-test. The results were as follows: 1. The curriculum of reading literacy skill enhancing based on the contemplative education for disable students was developed education with learning disability students was successfully developed. The result of the curriculum evaluation was at 3.93 which was at high level. 2. The result of developed curriculum implementation were as follows; 2.1 The average posttest score of the reading literacy skill was higher the average pretest score with the significance of .05 level. 2.2 All the learning disable students’ reading literacy skill is successfully improved; they also have better concentration ability and can connect prior knowledge with new knowledge better. 2.3 The students were satisfied with the curriculum activities such as meditation, painting, bell signals listening, and group work. The students like reading content of documentary “Phon Luang” the most and dislike reading of news “Boat crashes at Ayutthaya” the most.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน
dc.degree.name การศึกษาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account