DSpace Repository

ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อคำภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor พีร วงศ์อุปราช
dc.contributor.advisor ภัทราวดี มากมี
dc.contributor.advisor เสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.author ปิยะ ทองบาง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:43:38Z
dc.date.available 2023-05-12T06:43:38Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8015
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ ด้านความประทับใจในผู้ใหญ่ตอนต้น ศึกษาอารมณ์ด้านความประทับใจในเชิงพฤติกรรม คลื่นไฟฟ้าสมอง และเครือข่ายการเชื่อมโยงการทำงานของสมอง ขณะมองคำภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ จำแนกตามเพศและบุคลิกภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ มาตรวัดอารมณ์ความรู้สึกด้านความประทับใจ และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Two-way ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. กิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจในผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบด้วย กิจกรรม 2 ชุด ชุดละ 30 สิ่งเร้า สิ่งเร้าละ 1.5 วินาที จำแนกตามลักษณะอารมณ์ คือ ลักษณะพึงพอใจและลักษณะไม่พึงพอใจ 2. ผู้ใหญ่ตอนต้นเพศชายมีอารมณ์ด้านความประทับใจ ลักษณะไม่พึงพอใจน้อยกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนบุคลิกภาพต่างกัน ไม่แตกต่างกัน และ ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับบุคลิกภาพ ขณะมองคำภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ ลักษณะพึงพอใจและลักษณะ ไม่พึงพอใจ 3. คลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ใหญ่ตอนต้นขณะมองคำภาษาไทยด้านความประทับใจ ลักษณะ พึงพอใจ และลักษณะไม่พึงพอใจ ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงแตกต่างกันบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ตำแหน่ง FP1 FP2 F7 FZ F8 FT8 F3 FZ F4 และ F8 บริเวณเปลือกสมองสวนกลาง (Central lobe) ที่ตำแหน่ง C3 C4 CZ CP4 C2 และCP3 บริเวณเปลือกสมองด้านข้าง (Parietal Lobe) ที่ตำแหน่ง CP3 CP4 P3 P8 P7 PZ และP4 บริเวณเปลือกสมองส่วนขมับ (Temporal lobe) ที่ตำแหน่ง T7 T8 TP7 และTP8 และบริเวณเปลือกสมองท้ายทอย (Occipital lobe) ที่ตำแหน่ง O2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เครือข่ายการเชื่อมโยงการทำงานของสมองในผู้ใหญ่ตอนต้น ขณะมองคำภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ ลักษณะพึงพอใจ เพศหญิงมีความหนาแน่นของเครือข่ายมากกว่าเพศชาย การเชื่อมโยงระหว่างโหนดยาวกว่า และมีประสิทธิภาพเครือข่ายน้อยกว่าเพศชาย ลักษณะไม่พึงพอใจ เพศหญิงมีความหนาแน่นของเครือข่ายน้อยกว่าเพศชาย การเชื่อมโยงระหว่างโหนดสั้นกว่า และมีประสิทธิภาพเครือข่ายน้อยกว่าเพศชาย
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject อารมณ์
dc.subject บุคลิกภาพ
dc.subject คลื่นไฟฟ้า
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.title ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อคำภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์
dc.title.alternative The effect of gender nd personlity differences in young dults on the emotionl vlence of thi words: behviorl nd event-relted potentil study
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to design experimental activities of valence Thai words which stimulated emotional valence in young adults and to study the emotional valence concerning behavior, event-related potential studies, and brain functional connectivity network between gender and personality of the participants while looking Thai words. The participants were 80 students from Burapha University in the academic year 2017. The instruments used in this research consisted of the activity of looking Thai words which stimulated emotions valence, Self-Assessment Manikin (SAM), and NeuroScan system. The data were analyzed by the Two-way ANOVA. The research results were as follows: 1.The tasks of valence Thai words tasks consisted of 2 blocks; each block of 30 stimuli and 1.5 seconds for each, classified in 2 categories which were pleasure and unpleasure. 2. The young adults who has males showed valence emotional unpleasant less than female were significant difference (p<.05) but no differences between personalities on pleasure emomtion, and no interaction between gender and personality while looking to Thai words stimulated emotions valence. 3. The brain waves while looking to valence Thai words in pleasure and unpleasure which classified by gender and personality had been found in Frontal Lobe; FP1 FP2 F7 FZ F8 FT8 F3 FZ F4 and F8, Central Lobe; C3 C4 CZ CP4 C2 and CP3, Parietal Lobe; CP3 CP4 P3 P8 P7 PZ and P4, Temporal lobe; T7 T8 TP7 TP8, and Occipital lobe; O2 were significant difference (p<.05) 4. The brain functional connectivity network of young adults while looking to Thai words in pleasure category, females had more network density than males, link between nodes longer than males and network performance less than males. For unpleasure category, females had less network density than males, link between nodes shorter than males and network performance less than males.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account