DSpace Repository

การพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยโปรแกรมไเพกส์ : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปรัชญา แก้วแก่น
dc.contributor.author ประเสริฐ ทองทิพย์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:43:37Z
dc.date.available 2023-05-12T06:43:37Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8010
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมไอเพกส์ แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของนักเรียนระดับประถมศึกษาตามทฤษฎีพหุปัญญาและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว รวมทั้งศึกษาผลการใช้โปรแกรมไอเพกส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลจุมพลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ปีการศึกษา 2561 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมไอเพกส์ แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว และเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าสมองชนิดพกพา (Emotiv Epoc+) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และ two-way ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของกลุ่มทดลองทั้งหมด หลังการใช้โปรแกรมไอเพกส์สูงกว่าก่อนใช้ (p<.05) นอกจากนี้ เพศหญิงสูงกว่าเพศชาย และเชาวน์ปัญญาสูง สูงกว่าเชาวน์ปัญญาต่ำ หลังการใช้โปรแกรมไอเพกส์ (p<.05) 2) ค่าเฉลี่ยพลังงานสัมบูรณ์คลื่นไฟฟ้าสมองของกลุ่มทดลองในช่วงความถี่คลื่นไฟฟ้าสมองชนิด Theta เพศชาย ที่ AF3, F3 และเพศหญิงที่ AF3, F7 เชาวน์ปัญญาสูงที่ AF3, F3, F4 และเชาวน์ปัญญาต่ำที่ AF3, F7 ชนิด Alpha เพศชายที่ AF3, F3, F8 เชาวน์ปัญญาสูงที่ AF3, F3, F4 ชนิด Lower Beta เพศหญิงที่ FC5, AF4 เชาวน์ปัญญาสูงที่ F4 และเชาวน์ปัญญาต่ำที่ FC5, AF4 ชนิด Higher Beta เพศหญิงที่ FC5, AF4 เชาวน์ปัญญาสูงที่ AF4 และเชาวน์ปัญญาต่ำที่ AF3, F3, FC5 หลังการใช้โปรแกรมไอเพกส์สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมไอเพกส์ (p<.05) 3) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับเชาวน์ปัญญาในช่วงความถี่คลื่นไฟฟ้าสมองชนิด Theta ที่ AF3, FC5 และ AF4 ชนิด Alpha ที่ AF3, F3, FC5 และ AF4 ชนิด Lower Beta ที่ AF3, FC5 และ AF4 และชนิด Theta ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงที่ F7 ชนิด Higher Beta ระหว่างเชาวน์ปัญญาสูงกับต่ำ ที่ AF3 และ AF4 สรุปว่า โปรแกรมไอเพกส์สามารถพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของนักเรียนระดับประถมศึกษาได้
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ปัญญา -- การทดสอบ
dc.subject เชาวน์ -- แบบทดสอบ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject เชาวน์
dc.title การพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยโปรแกรมไเพกส์ : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง
dc.title.alternative Enhncing bodily-kinesthetic intelligence mong primry school students by ipegs progrm: behviorl nd eeg study
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this research were 1) to create an IPEGS Program 2) to develop a Bodily-Kinesthetic intelligence test for primary school students based on Multiple Intelligence Theory and Kinesiology, 3) to study the effectiveness of the IPEGS program on Bodily-Kinesthetic intelligence. Participants were 80 primary school students in Grade 5 in the academic year 2018 from Anubanjumpholphonphisai school, Nong Khai. The research instruments included the IPEGS program, Bodily-Kinesthetic intelligence test, and the Emotiv Epoc EEG. Data were analyzed by t-test and two-way ANOVA. The results were as follows: 1) After training, the average accuracy scores of experimental groups were higher than before training (p<.05). In addition, females showed better scores than males, and the high-intelligence group showed better scores than the lower-intelligence group (p<.05) 2) The absolute EEG power of males in the theta band at AF3, F3 and females at AF3, F7; high intelligence group at AF3, F3, F4 and low intelligence group at AF3, F7; alpha band male group at AF3, F3, F8; high intelligence group at AF3, F3, F4; lower beta band female group at FC5, AF4; high intelligence group at F4 and low intelligence group at FC5, AF4; higher beta band female group at FC5, AF4; high intelligence group at AF4 and low intelligence group at AF3, F3, FC5 after training was higher than before training (p<.05). 3) There was an interaction effect between gender and intelligence levels in the theta band at the electrode sites: AF3, FC5 and AF4; the alpha band at the electrode sites: AF3, F3, FC5 and AF4; the lower beta band at the electrode sites: AF3, FC5 and AF4. The theta band was different between genders at the electrode site F7 and upper beta band was different between intelligence levels at the electrode sites: AF3 and AF4. It was concluded that an IPEGs program could enhance the bodily-kinesthetic intelligence of primary school students.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account