DSpace Repository

การเพิ่มการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor กนก พานทอง
dc.contributor.author เยาวรัตน์ รัตนธรรม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:25:32Z
dc.date.available 2023-05-12T06:25:32Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7989
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และพัฒนาโปรแกรมแบบทดสอบความใส่ใจสำหรับนักเรียนปฐมวัย และนำแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นไปใช้โดยพิจารณาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และคะแนนความใส่ใจระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนปฐมวัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านเขาตะกรุบพัฒนา จำนวน 90 คน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เครื่องมือวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ กิจกรรมโอเรียนเทียริง (Orienteering) และกิจกรรมเต้น (Dance) 2) เครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปรตาม ได้แก่ แบบทดสอบการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และโปรแกรมแบบทดสอบความใส่ใจสำหรับนักเรียนปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ MANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนปฐมวัย หลังใช้กิจกรรมโอเรียนเทียริง (Orienteering) สูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัย หลังใช้กิจกรรมโอเรียนเทียริง (Orienteering) สูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนปฐมวัย หลังใช้กิจกรรมเต้น (Dance) สูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ค่าเฉลี่ยคะแนนความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมเต้น (Dance) สูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัยในกลุ่มทดลองหลังใช้กิจกรรมโอเรียนเทียริง (Orienteering) และกิจกรรมเต้น (Dance) และกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมตามปกติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายด้วยกิจกรรมโอเรียนเทียริง (Orienteering) สามารถเพิ่มการรับรู้มิติสัมพันธ์ และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัยได้มากที่สุด
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การศึกษาปฐมวัย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject มิติสัมพันธ์
dc.title การเพิ่มการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย
dc.title.alternative Enhncing sptil perception nd ttention in erly childhood eduction using physicl ctivity
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to develop a spatial perception test and an attention test program for preschool children, and to compare the average scores of spatial perception and attention between experimental and control groups. The sample was comprised of 90 preschool children enrolled in the 2 nd semester of academic year 2017 at Ban Khaotakrub Phattana School, Wang Nam Yen District, SaKaeo Province. Research instruments involved two categories: (1) experimental instruments which included orienteering and dance activities, and (2) instruments for measuring dependent variables - the spatial perception test and the attention test program. Data were analyzed by using t-tests and MANOVA. Research findings were as follows 1. The average scores of the spatial perception of preschool children after training with orienteering activities were statistically higher than scores before training at a significance level of .05. 2. The average scores of the attention of preschool children after training with orienteering activities were statistically higher than scores before training at a significance level of .05. 3. The average scores of the spatial perception of preschool children after training with dance activities were statistically higher than the scores before training at a significance level of .05. 4. The average scores of the attention of preschool children after training with dance activities were statistically higher than the scores before training at a significant level of .05. 5. At the end of the experiment, average scores of the spatial perception and attention of preschool children after training with orienteering and dance activities in the experimental group were different to those of the control group at a significance level of .05. It can be concluded that the orienteering activity was most effective in increasing spatial abilities and attention among preschool children.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account